2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์
3 ในปี พ.ศ. 2560-2563 มีจำนวนผู้ป่วยนิติจิตเวชทั้งหมด 449 ราย เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิตและ ร่างกายมากที่สุด 135 ราย โดยผู้ป่วยนิติจิตเวชมีความเจ็บป่วยทางจิต วินิจฉัยเป็นโรคจิตเภทมาก ที่สุด 213 ราย การมีโอกาสเข้าถึงบริการด้านการรักษาได้น้อยและไม่ต่อเนื่องของผู้ป่วยจิตเวช ตลอดจนขาดการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลในครอบครัว ย่อมส่งผลให้อาการป่วยทางจิตรุนแรงขึ้น เสี่ยง ต่อการเกิดอันตรายร้ายแรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้งเป็นเหตุให้ก่อคดีซ้ำได้ (Hfocus, 2014) โดยในพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มาตรา 3 ได้ให้ความหมายของคำว่า “ผู้ป่วยคดี” ไว้ว่า ผู้ป่วยที่ อยู่ระหว่างการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาในคดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวน หรือศาลสั่งให้ได้รับการตรวจ หรือบำบัดรักษา รวมทั้งผู้ป่วยที่ศาลมีคำสั่งให้ได้รับการบำบัดรักษา ภายหลังมีคำพิพากษาในคดีอาญาด้วย เมื่อแยกตามประเภทความผิดของผู้ป่วยนิติจิตเวช เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายมาก ที่สุด 135 ราย (30.07%) รองลงมา คือ คดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 92 ราย (20.49%) คดียาเสพติด 67 ราย (14.92%) คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ 43 ราย (9.58%) คดีความผิดฐานบุกรุก 26 ราย (5.79%) คดีความผิดฐานวางเพลิง 7 ราย (1.56%) และคดีความผิดฐานหมิ่นประมาท 7 ราย (1.56%) จาก ข้อมูลจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยจิตเวชที่กระทำผิดทางอาญาหรือผู้ป่วยนิติจิตเวช มักจะก่ออาชญากรรม ประเภทอาชญากรรมพื้นฐาน (Basic Crime) หรือเรียกอีกอย่างว่า “อาชญากรรมท้องถนน” (Street Crime) เป็นอาชญากรรมซึ่งเกี่ยวกับการประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้อื่น อาทิเช่น ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าผู้อื่น และยาเสพติด เป็นต้น มักเป็น อาชญากรรมที่ไม่มีความสลับซับซ้อน ไม่ได้ใช้เทคนิคสูง (Chutinan, A, 2018) ส่วนใหญ่วินิจฉัยเป็น โรคจิตเภท โรคจิตจากพยาธิสภาพในสมอง ซึ่งเป็นผู้วิกลจริตตามกฎหมายหรืออาชญากรวิกลจริต (Insane Criminal) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ผิดชอบหรือความสามารถในการควบคุมตัวเองน้อยกว่าบุคคล ทั่วไปหากมีอาการทางจิตกำเริบขณะที่กระทำผิด (พูนพัฒน์ กมลวุฒิพงศ์, 2565) ปัญหาเกี่ยวกับผู้ต้องขังจิตเวชกระทำความผิด อาจเริ่มขึ้นตั้งแต่ผู้กระทำความผิดไม่ได้แสดง อาการทางจิตมาตั้งแต่ต้น แต่เมื่ออยู่ในชั้นสอบสวนหรือชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณา ผู้กระทำ ความผิดเริ่มมีอาการทางจิต กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 14 และพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มาตรา 35 ซึ่งกล่าวไว้ว่าต้องพักการ สอบสวน หรือพักการพิจารณาคดีไว้ หรืองดการไต่สวนมูลฟ้องตามแต่ละกรณี เพราะหากดำเนินการ ในขณะที่ผู้กระทำความผิดมีอาการทางจิต อาจเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ กฎหมายจึงให้ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยไปให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยโรคก่อน เพื่อวินิจฉัยว่าผู้ต้องหาหรือ จำเลยมีอาการทางจิตจริงหรือไม่ หากมีอาการทางจิตจริง ต้องรักษาให้หายก่อนเพื่อดำเนินคดีต่อไป โดยบุคคลที่สามารถส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ ได้แก่ (1) เจ้าหน้าที่ตำรวจ (2) ศาล (3) ราชทัณฑ์ (ญาดา เดชชัย เธียรประสิทธิ์, 2565) แต่หากผู้กระทำความผิดหรือจำเลยไม่ได้แสดงอาการผิดปกติ ทางจิตในชั้นสอบสวน และศาลได้มีคำพิพากษาให้จำคุกไปแล้วนั้น ทางราชทัณฑ์มีขั้นตอนในการคัด กรองด้านสุขภาพจิตของตัวผู้ต้องขังหรือไม่ เพราะหากดูตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการตรวจ ร่างการผู้ต้องขังเข้าใหม่ ผู้ต้องขังเข้า-ออกเรือนจำ พ.ศ. 2561 ในส่วนของการตรวจร่างกายผู้ต้องขัง เข้าใหม่นั้น กล่าวไว้เพียงในส่วนที่ผู้ต้องขังมีอาการส่อแววว่าจิตไม่สมประกอบ จึงจะทำการจัดแยก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3