2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์
4 ผู้ต้องขังรายใหม่นั้นออกจากผู้ต้องขังรายอื่น แต่หากผู้ต้องขังที่มีอาการป่วยทางจิตแต่ไม่แสดงอาการ ให้เห็นยังไม่มีระบุวิธีคัดกรองผู้ต้องขังนั้น ต่อมาเมื่อผู้ต้องขังที่มีอาการวิกลจริตเข้ามาอยู่ในการคุมขังของเรือนจำแล้วนั้น หากผู้ต้องขังจะ ทำอันตรายต่อชีวิตร่างกายของตนเองหรือผู้อื่น ผู้ต้องขังคนนั้นอาจถูกพันธนการได้ตามมาตรา 21(2) แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ส่วนผู้ต้องขังที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต ให้ผู้บัญชา เรือนจำดำเนินการให้ผู้ต้องขังได้รับการตรวจจากแพทย์โดยเร็วตามมาตรา 55 ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยที่รู้ ตนเองและมีประวัติการรักษาอย่างต่อเนื่องเท่านั้น แต่ไม่ได้มีระบุไว้อย่างชัดเจนถึงมาตรการการดูแล หรือควบคุมผู้ต้องขังที่ป่วยจิตเวชและไม่แสดงอาการให้เห็น หรือไม่รู้ตัวเองว่าป่วยจิตเวช หรือผู้ต้องขัง ที่ไม่ได้มีประวัติการรักษาอาการป่วยจิตเวช เมื่อผู้ต้องขังพ้นโทษไปแล้วนั้น เรือนจำได้มีมาตรการเตรียมความพร้อมการปล่อยตัวผู้ต้องขัง ระบุว่าผู้ต้องขังมีโอกาสได้พบกับนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา หรือเจ้าพนักงานเรือนจำที่มีความรู้ หรือผ่านการอบรมด้านสุขภาพจิต เพื่อตรวจสอบหรือสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพจิต และให้เรือนจำ รวบรวมข้อมูลที่ได้ไว้ในทะเบียนประวัติของผู้ต้องขังรายนั้น ตามที่ระบุไว้ในระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่า ด้วยการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัวผู้ต้องขัง พ.ศ. 2561 อย่างไรก็ดียังไม่ได้มีระบุถึงผู้ต้องขังที่มี ประวัติการรักษาด้านสุขภาพจิตว่าได้ส่งตัวไปรักษาต่อในโรงพยาบาลหรือไม่ หรือในส่วนของผู้ต้องขัง ที่ไม่ได้แสดงออกว่ามีอาการป่วยทางจิตหรือไม่รู้ตนเองว่าป่วยทางจิตจะดำเนินการต่อไปอย่างไร และ การบันทึกข้อมูลดังกล่าวก็เพียงแต่เก็บไว้ในฐานข้อมูลของเรือนจำเท่านั้น ไม่ได้ส่งต่อให้ญาติ หรือ หน่วยงานอื่นดูแลหรือรับรู้แต่อย่างใด ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันผู้ต้องขังที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ/ทัณฑสถานที่บกพร่องด้านสุขภาพ ทางจิตเวช อาจมีอาการป่วยตั้งแต่ก่อนจะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ/ทัณฑสถาน และอาจเกิดขึ้นภายหลัง จากการถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ/ทัณฑสถาน การควบคุมดูแลและเฝ้าสังเกตอาการของผู้ต้องขังจิตเวช จึงมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป ที่ไม่แสดงอาการออกมาว่าเป็นผู้ป่วยด้านสุขภาพทางจิตเวช เมื่อเข้ามาอยู่ ในเรือนจำจะไม่ได้ถูกแบ่งแยกให้คุมขังแยกเป็นกรณีพิเศษ เช่นเดียวกับผู้ต้องขังที่เป็นผู้อายุและผู้ พิการ ที่จะถูกควบคุมดูแลและเฝ้าสังเกตอาการ ย่อมทำให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ ในระหว่างต้องขังในเรือนจำเหมือนกับกลุ่มผู้ต้องขังประเภทเปราะบาง อีกทั้ง พระราชบัญญัติ ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มีเพียงมาตรา 21(2) ที่บังคับกับผู้ต้องขังที่เป็นผู้วิกลจริตเท่านั้น และผู้ป่วย สุขภาพจิตที่แสดงอาการให้ปรากฎและมีประวัติการรักษาอย่างต่อเนื่องเท่านั้น แต่ยังไม่มีกฎหมายใด มารองรับผู้ป่วยทางสุขภาพจิตที่ไม่แสดงอาการให้ปรากฎชัดแจ้งเลยทำให้ไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่ อง ในระหว่างที่ถูกคุมขัง ส่งผลให้เมื่อพ้นจากการได้รับโทษแล้วไม่สามารถอยู่ในสังคมได้ แผนพัฒนาสิทธิ มนุษยชน ฉบับที่ 4 พ.ศ.2562-2566 ให้ความสำคัญกับผู้พนโทษบางคนมีอาการป่วยทางจิตติดตัวมา ด้วยรวมถึงผู้ต้องขังที่มีอาการจิตซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำใหสังคมไม่ยอมรับ และอาจกลับไปกระทำ ความผิดอีก สร้างปัญหาความไม่ปลอดภัยต่อครอบครัว ชุมชน และสังคมของประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันผู้ต้องขังที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ/ทัณฑสถานที่มีปัญหาด้านจิตเวช อาจมีอาการ ป่วยตั้งแต่ก่อนจะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ/ทัณฑสถาน และอาจเกิดขึ้นภายหลังจากการถูกคุมจังอยู่ใน เรือนจำ/ทัณฑสถาน การควบคุมดูแลและเฝ้าสังเกตุอาการของผู้ต้องขังจิตเวชจึงมี วิธีที่แตกต่างกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3