2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์
5 ออกไป ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษามาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาจิตเวชในระหว่างถูกคุมขังใน เรือนจำ/ทัณฑสถาน 1.2 วัตถุประสงค์ 1.2.1 เพื่อศึกษาปัญหาการคัดกรองผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิในระหว่าง การคุมขังในเรือนจำ 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ คุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชในระหว่างการ คุมขังในเรือนจำ 1.2.3 เพื่อศึกษากฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม สำหรับผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชในระหว่างการคุมขังในเรือนจำ 1.2.4 เพื่อหาแนวทางและพัฒนากฎหมายการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชใน ระหว่างการคุมขังในเรือนจำ 1.3 คำถามวิจัย รูปแบบเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในระหว่างการคุมขังผู้ต้องหาจิตเวช เป็นอย่างไร 1.4 สมมติฐานของการวิจัย ปัญหาการจำแนก คัดกรองผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชในระหว่างที่ถูกคุมขังในเรือนจำยังไม่ แนวทางที่ชัดเจนเพื่อจำแนก คัดกรองกลุ่มบุคคลเหล่านี้ เนื่องจากตัวของผู้ป่วยไม่ยอมรับและไม่ แสดงออกเกี่ยวกับความบกพร่องของปัญหาทางสุขภาพจิตของตัวเองและไม่มีข้อมูลและประวัติ เกี่ยวกับกับการรักษา ทำให้ผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชเข้ามาในเรือนจำไม่ได้รับการจำแนก คัดกรอง ตามสถานะของผู้ต้องขังแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม ดังนั้น จำเป็นต้องหารูปแบบเพื่อจำแนก คัดกรองสถานะของผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชในระหว่างถูกคุมขังให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิ และได้รับ การรักษาในระหว่างการคุมขังในเรือนจำ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย และได้รับการช่วยเหลือ สงเคราะห์เมื่อพ้นโทษไปแล้วให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และไม่วนกลับมากระทำความผิด ซ้ำอีกในอนาคต
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3