2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์
6 1.5 ขอบเขตของการวิจัย ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตไว้ 3 ด้าน ดังนี้ ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาถึงแนวคิดเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวช สิทธิของผู้ ถูกคุมขังในระหว่างการคุมขังในเรือนจำ หลักการ/แนวคิดในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขัง รูปแบบ การจำแนก คัดกรองผู้ต้องขังในเรือนจำ กฎหมายประเทศไทย ได้แก่ รัฐธรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 รวมถึง กฎหมายต่างประเทศ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตด้านพื้นที่ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลกรณีสัมภาษณ์เชิงลึก ในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลา เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีเรือนจำหรือทัณฑสถานมากกว่าจังหวัดอื่นในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ เรือนจำกลางสงขลา เรือนจำจังหวัดสงขลา ทัณฑสถานหญิงสงขลา ทัณฑสถานบำบัดพิเศษสงขลา เรือนจำอำเภอนาทวี ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูล เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม (Field Research) ด้วยการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบไม่มีพิธี โดยสัมภาษณ์อย่าง เป็นทางการด้วยการกำหนดประเด็นไว้ล่วงหน้า โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บัญชาการเรือนจำและเจ้าหน้าผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบขุมผู้ต้องขังที่ ป่วยทางจิตเวช 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 1.6.1 ทำให้ทราบปัญหาการคัดกรองผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิ ใน ระหว่างการคุมขังในเรือนจำ 1.6.2 ทำให้ทราบแนวคิด ทฤษฎี หลักการ คุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชในระหว่างการ คุมขังในเรือนจำ 1.6.3 ทำให้ทราบกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม สำหรับผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชในระหว่างการคุมขังในเรือนจำ 1.6.4 ได้แนวทางและพัฒนากฎหมายการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชในระหว่าง การคุมขังในเรือนจำ 1.7 คำนิยามศัพท์เฉพาะ โรคจิตเวช หมายความว่า กลุ่มอาการทางจิตใจหรือพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยมีความบกพร่องใน กิจวัตรต่าง ๆ หรือเกิดความทุกข์ทรมาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3