2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

9 ต้องการแก้แค้น วิญญาณเหล่านั้นจะเข้าไปสิงผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อเป็นการแก้แค้น ดังนั้นในอดีตคนเชื่อ ว่าโรคทางจิตมีสาเหตุมาจากการถูกผีเข้า หมอผีจึงเป็นบุคคลสำคัญในการเยียวยาและรักษาอาการ ดังกล่าว ในแต่ละวัฒนธรรมก็มีวิธีการในการรักษาที่แตกต่างกันออกไปตามวิธีคิด ค่านิยม และวิถี ปฏิบัติ เช่นในประเทศฝรั่งเศสจะจับคนวิกลจริตที่เชื่อว่ามีวิญญาณร้ายสิงอยู่ให้เข้าไปอยู่ในคอกสุกร เพราะคนฝรั่งเศสเกลียดมูลของสุกร จึงมีความเชื่อว่าวิญญาณก็คงเกลียดมูลสุกรด้วยเช่นกัน ในบาง ประเทศการทรมานเป็นวิธีหนึ่งที่ถูกใช้ในการรักษาอาการทางจิต หรือในบางวัฒนธรรมจะมีการนำสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจมาใช้ในการรักษา เช่นในประเทศไทยที่ใช้วิธีการรดน้ำมนต์และพาไปหาพระ เพื่อให้ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากร่าง (ลิขิต กาญจนาภรณ์, 2541) การเยียวยารักษาอาการทางจิตเวชมีการเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยี ความเชื่อ การแพทย์ และ การขยายของตัวเมือง ในประเทศไทย โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ถือเป็นโรงพยาบาลเฉพาะ ทางด้านจิตเวชของเมืองไทย ก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2432 ซึ่งใน สมัยนั้นเรียกว่า “โรงพยาบาลคนเสียจริต” เวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลคนเสียจริตปาก คลองสาน” ขึ้นอยู่กับกองแพทย์สุขาภิบาล กระทรวงนครบาล โดยมีนายแพทย์ เอช แคป์เบลล์ ไฮเอ็ด เป็นหัวหน้าแพทย์ ต่อมาได้มีแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ โมเดิร์น คาทิวส์ เป็นผู้อำนวยการแพทย์คนแรก และในปี พ.ศ.2496 นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ได้ก่อตั้งสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยขึ้นเป็นคน แรก และให้มีการก่อตั้งสมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย (เฉลิมพล พลมุข, 2562) สุขภาพจิตเป็นสภาวะทางจิตใจของบุคคล ซึ่ งโดยธรรมชาติภาวะทางจิตใจมีการปรับ เปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวของผู้นั้น ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งมีการพัฒนาการไปอย่างไม่หยุดยั้ง สุขภาพจิตของ คนเราจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนแปลงตาม นับเป็นความยากลำบากพอควรของมนุษย์ที่จะต้องปรับตัว ปรับใจไปกับการเปลี่ยนแปลง จะเห็นได้ว่าชีวิตนี้หนีไม่พ้นการปรับตัว ปรับใจ บุคคลผู้สามารถปรับตัว ได้ในสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยตนเองมีความสุข สามารถในการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงตน เองได้ ตามสถานการณ์ ด้วยเหตุด้วยผลอันเหมาะสมมีความยืดหยุ่น ก็คือผู้ที่มีสุขภาพจิตดี สุขภาพจิตดี เปรียบได้กับต้นไม้ที่รากเต็มไปด้วยความเป็นมิตร ความมีเมตตา การให้อภัย มีความอดทนและสำนึก ในบุญคุณผู้อื่น มีความรับผิดชอบ มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต จิตใจมั่นคง มีความอบอุ่น และมี ความรัก ก่อให้เกิดความไว้วางใจ กลายเป็นลำต้นที่แข็งแรงเกิดการแตกแผ่กิ่งก้านสาขาเป็นความคิด ริเริ่มสร้างสรร ได้รับการยอมรับในสังคมเป็นผู้ที่คำนึงถึงบุคคลอื่น มีแรงจูงใจ พอใจและรู้จักตนเอง อย่างแท้จริงชีวิตมีเป้าหมาย พบความเจริญงอกงาม รู้รับผิดชอบและมีความสามารถใช้ศักยภาพของ ตนได้อย่างดีทำประโยชน์และอุทิศตนเพื่อสังคม มีความสุขในชีวิต แต่ชีวิตคนเรามีขึ้น มีลง และมนุษย์ ปุถุชน ก็ยังคงมีความอยากความต้องการ ดังนั้นชีวิตย่อมจะต้องเผชิญต่อความสมหวัง และความ ผิดหวังเป็นธรรมดา เมื่อคนเราพบความยุ่งยากใจ ย่อมทำให้ เกิดความตึงเครียด และถ้ามีอะไรมา ซ้ำเติมอีกก็จะทำให้ความเครียดสูงขึ้นๆ ทำให้สุขภาพจิตอ่อนแอ และถ้าทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นมากๆ จนกระทั่งผู้นั้นไม่สามารถทนได้ ย่อมทำให้สุขภาพจิตเสีย จิตใจทำงานผิดวิสัยไป เกิดปัญหาหรือโรค ทางจิตใจและอารมณ์ได้ (คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3