2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

10 2.1.1 ความหมายของโรคจิตเวช โรคจิตเวช (Psychosis) คือ ภาวะอาการทางจิตที่ผู้ป่วยมักมีอาการหลงผิดไปจากความ เป็นจริง ประสาทหลอน หูแว่วเห็นภาพหรือรับรู้ในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง อาการโรคจิตหรือวิกลจริตนี้เป็น ปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุทั้งปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุทั้งปัจจัย ภายในอย่างความผิดปกติทางจิตต่างๆ อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย และปัจจัยภายนอกอย่างการใช้ยา หรือสารเสพติด แม้อาการบางอย่างของผู้ป่วยจิตเวชจะทำให้ครอบครัวและบุคคลรอบข้างเป็นกังวล แต่หากได้รับการรักษาและการดูแลสนับสนุนที่เหมาะสม ผู้ป่วยจิตเวชก็มีโอกาสที่จะอาการดีขึ้นจน กลับมาใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ (ธนวัฒน์ บุญประกอบ, 2563) โรคจิตเวช หรือโรคทางจิตเวช คือ ปัญหาที่เกี่ยวกับจิตใจ เกิดจากความผิดปกติของสมอง ที่ควบคุมเรื่องความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์ โรคจิตเภท โรควิตก กังวล โรคแพนิค โดยศาสตร์ความรู้เกี่ยวกับโรค และการรักษาเรียกว่าจิตเวชศาสตร์ และแพทย์ที่ ศึกษาเฉพาะทางด้านนี้เรียกว่าจิตแพทย์ (โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน, 2566) วิกลจริต (โรคจิต) คือ ภาวะผิดปกติทางจิตที่มีความผิดปกติของความคิด อารมณ์ พฤติกรรมอย่างมากจนไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง เช่น คนบางคนอาจจะมีอาการของความคิดหลง ผิด เช่น ระแวงถูกสะกดรอยตาม, ถูกทำร้าย, ถูกนินทา, ถูกควบคุมโดยอำนาจไสยศาสตร์หรือไมโค รชิพ อาการประสาทหลอน เช่น ได้ยินหูแว่วเสียงคนพูดถึงตนเอง, ภาพหลอน อาการพฤติกรรมแปลก ผิดประหลาดจากปกติ เช่น มีพฤติกรรมวุ่นวายมาก, ทำท่าแปลกๆ อาการพูดจาผิดปกติ เช่น พูดฟังไม่ รู้เรื่อง, ไม่ปะติดปะต่อ, ใช้ภาษาแปลกๆ หรืออาจจะมีอาการเฉื่อยชา เช่น อยู่เฉยๆ นิ่งๆ เก็บตัว ไม่ สนใจสังคม ไม่ดูแลตนเอง ดูเหมือนคนขี้เกียจ (คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554) พระราชบัญญัติสุขภาพจิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มาตรา 3 ได้ให้ความหมายของคำว่า “สุขภาพจิต” หมายความว่า สุขภาวะทางจิตใจ ซึ่งเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุลกับสุขภาวะ ทางกาย ทางปัญญา และทางสังคม (พระราชบัญญัติสุขภาพจิต (ฉบับที่ 2), 2562) จากข้อมูลที่ได้มา ผู้วิจัยจึงให้คำนิยามความหมายของ โรคทางจิตเวช หมายถึง อาการ ผิดปกติทางสมองที่ควบคุมในเรื่องพฤติกรรม ความคิด อารมณ์ และการแสดงออก ส่งผลกระทบ โดยตรงต่อจิตใจของผู้ป่วย และการแสดงออกของอาการอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ราย บางราย อาจจะมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความร่างเริงจนเกินปกติ บางรายอาจจะมีพฤติกรรมที่เซื่องซึมจนผิด สังเกต หรือบางรายอาจจะมีพฤติการณ์การแสดงออกที่หวาดระแวง อาการเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ ไม่สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ แต่หากผู้ป่วยได้รับการดูแล รักษาที่ถูกต้อง ได้พบกับแพทย์เฉพาะทางหรือที่เรียกกันว่า จิตแพทย์ ผู้ป่วยจิตเวชก็มีโอกาสที่จะมี อาการที่ดีขึ้นและกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติอีกครั้ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3