2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

12 6) โรคสมองเสื่อม (Dementia) คือภาวะการทำงานของสมองแย่ลงจนส่งผลกระทบต่อ ชีวิตประจำวัน โดยจะไม่สามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ได้ หลงลืมง่าย หรือเล่าเรื่องในอดีตได้แต่ไม่ สามารถจำกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวันได้ พบมากในผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป มีทั้งแบบรักษาหายและไม่ หายขาด โดยกลุ่มที่รักษาหายขาดได้ เช่น น้ำคั่งในโพรงสมอง เนื้องอก เลือดออกในสมอง โรคของ ต่อมไทรอยด์ ขาดวิตามินบี 12 ติดเชื้อซิฟิลิสในสมอง การเกิดภูมิคุ้มกันต่อตัวเอง หรือการใช้ยาบาง ชนิด นอกจากนี้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจมีอาการหลงลืมง่าย (Pseudodementia) ซึ่งสามารถหายได้ เมื่อรักษาโรคซึมเศร้าหาย ส่วนในกลุ่มที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคที่พบบ่อยคืออัลไซเมอร์ หลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น 7) โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobias) คืออาการหวาดกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่าง รุนแรงหรือสถานการณ์บางอย่าง เช่น กลัวความสูง กลัวความมืด กลัวสัตว์บางชนิด กลัวเลือด ซึ่ง อาการที่แสดงออกมาจะเป็นไปในทางหลีกเลี่ยง และหนีการพบเจอสิ่งนั้น ๆ อย่างทันทีทันใด ในรายที่ รุนแรงอาจหวาดกลัวแม้เป็นเพียงการเอ่ยถึงหรือพบเจอสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกัน (อภิชาติ จริยา วิลาศ, 2564) องค์การอนามัยโลก (World Health Organization (WHO)) ได้มีประกาศแบ่งโรคทาง จิตเวชออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) โรคจิต (Psychosis) เป็นโรคทางจิตที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากกว่าโรคประสาท จาก ภาวะทางความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมที่ผิดปกติไปจากคนทั่วไป แต่ผู้ป่วยเองจะไม่สามารถ แยกแยะว่าพฤติกรรมของตนเองผิดแปลกไปจากคนทั่วไปจากภาวะการหลงผิดทางจิต โรคจิตเวช ประเภทนี้แบ่งตามสาเหตุออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ (1.1) โรคจิตที่เกิดจากความผิดปกติทางกาย และสารเคมี ได้แก่ โรคสมองเสื่อม ในวัยชรา (Senile and Presenile Dementia) โรคจิตจากสุรา (Alcoholic Psychoses) โรคจิต ชั่วคราวจากสาเหตุฝ่ายกาย (Transient Organic Psychotic Conditions) โรคจิตจากยา (Drug Psychoses) (1.2) โรคจิตอื่นๆ ที่เกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์ และจิตใจ ได้แก่ โรคจิต เภท (Schizophrenia) โรคจิ ตทางอารมณ์ ( Affective Psychoses) โรคหลงผิ ด (Delusional Disorder) 2) โรคประสาท (Neurosis) โรคประสาทถือเป็นโรคทางจิตประเภทหนึ่งที่มีอาการรุนแรง น้อยกว่าโรคจิต อาการโดยมากจะเป็นเพียงสภาวะการแปรปรวนทางจิตใจ การวิตกกังวล ภายใต้การ ใช้ชีวิตตามปกติเหมือนคนทั่วไป ซึ่งอาการเหล่านี้จะแสดงออกมาขณะที่ผู้ป่วยเองสามารถรับรู้ จดจำ และเข้าใจในพฤติกรรมของตัวเองได้ แบ่งชนิดตามอาการของโรค ได้แก่ โรควิตกกังวล (Anxiety Neurosis) หวาดกลั ว ( Phobic Neurosis) ย้ ำคิ ดย้ ำทำ (Obsessives Compulsive Neurosis) ซึมเศร้า (Depressive Neurosis) บุคลิกวิปลาส (Depersonalization)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3