2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์
13 3) โรคปัญญาอ่อน (Mental Retardation) โรคนี้เกิดขึ้นจากสภาวะระดับสติปัญญาที่ต่ำ กว่ าปกติตามวัยของคนทั่ วไปที่ ควรจะมี อันเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น พันธุกรรม สารเคมี ภาวะของโรค และปัจจัยแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น (Pinit Winnawan, 2564) 2.1.3 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการป่วยทางจิตเวช โรคทางจิตเวช เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติหรือความบกพร่องทางจิตใจ รวมไปถึงการผิดปกติของพฤติกรรมโดยธรรมชาติที่มีสาเหตุมากจากปัจจัยหลายด้านด้วยกัน ได้แก่ 1) พันธุกรรม และร่างกาย ที่เกิดจากการสืบสายเลือดของผู้ที่มีปัญหาทางจิต อาจมีโอกาส เสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตได้ง่ายกว่าคนทั่วไปเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆ รวมไปถึงความ บกพร่องของร่างกายขณะกำเนิด 2) ความผิดปกติทางชีวเคมี ที่เกิดจากการได้รับสารเคมีหรือสารเสพติด รวมถึงปัจจัยที่ เกิดจากการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ที่มีผลต่อการสร้างการหลั่งของสารเคมีในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับ ระบบประสาทและสมอง สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตได้ง่าย 3) ปัจจัยทางด้านสังคม อันเกิดจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ รวมไปถึงภาวะแรง กดดันทางสังคมจากการใช้ชีวิต อาทิ การประสบอุบัติเหตุ การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การถูก ปฏิเสธจากสังคมหรือถูกซ้ำเติมในปมด้อยของตนจากสังคม เป็นต้น 4) ปัจจัยทางด้านปัญญา และจิตใจ ที่เกิดจากการขาดวิจารณญาณในการรับฟัง การพูด การกระทำ และการตัดสินใจต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างไม่ถูกต้อง รวมถึงภาวะทางจิตใจที่ขาด ความเข้มแข็ง แน่วแน่ และอ่อนไหวง่าย สิ่งเหล่านี้มีส่วนนำมาซึ่งกระบวนการทางจิตที่ผิดปกติได้ง่าย (Pinit Winnawan, 2564) แม้ในทางการแพทย์จะยังไม่มีการระบุสาเหตุที่แน่ชัดของอาการโรคจิตได้ แต่มีความเชื่อ มากมายเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยเผชิญภาวะโรคจิต ได้แก่ ปัจจัยภายในและ ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน เป็นการเกิดโรคจากกลไกการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย แบ่งให้ เห็นอย่างชัดเจนได้ดังนี้ 1) ความผิดปกติทางสมอง และระดับสารเคมีในสมอง นักวิจัยหลายคนเชื่อว่า อาการโรค จิตเวชอาจเกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ที่ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการคิดและการรับรู้ที่นำไปสู่การเกิดพฤติกรรมต่างๆ หาก การทำงานของสมองและสารสื่อประสาทได้รับความกระทบกระเทือนอาจส่งผลให้เกิดอาการโรคจิตได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้สนับสนุนแนวคิดนี้ด้วยหลายงานค้นคว้าวิจัยที่แสดงลักษณะทางกายภาพของสมอง ผ่านภาพสแกนสมองและการทดลองควบคุมระดับโดปามีนซึ่งมีส่วนช่วยลดการเกิดอาการโรคจิตได้ ด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3