2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์
14 2) ความผิดปกติทางจิต โรคจิตเวชอาจเกิดจากความผิดปกติทางจิตหรือทางบุคลิกภาพ เช่น ป่วยเป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia) ทำให้มีอาการหลงผิดและประสาทหลอน ป่วยเป็ นโรค ไบโพลาร์ห รือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) ที่ทำให้มีอาการซึมเศร้าหรืออารมณ์ดีสุดขีด (Mania) มี ความเ ครียดค วามวิตกกังวลอย่างหนัก หรืออยู่ใ นภาวะซึมเศร้าอ ย่างรุนแรง 3) ความเจ็บป่วยทางร่างกาย เมื่อผู้ป่วยเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง อาจส่งผลให้เกิดอาการ โรคจิตเวชได้ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โรคไข้จับสั่นหรือมาลาเรีย โรคอัลไซ เมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคพุ่ มพวง หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซิฟิลิส การติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มอาการเอดส์ มีเนื้องอกใน สมอง เป็นต้น 4) กรรมพันธุ์ บางทฤษฎีเชื่อว่าอาการโรคจิตมีแนวโน้มถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น ได้ ส่วนปัจจัยภายนอก เป็นการเกิดโรคจากที่ไม่ได้มาจากทำงานของระบบต่างๆ ภายใน ร่างกายโดยตรง แต่อาจมีสาเหตุการเกิดโรคจากสภาพแวดล้อม หรือจากสิ่งอื่นใดที่ผู้ป่วยนำเข้าสู่ ร่างกาย การใช้ยาหรือการได้รับสารเคมีใดๆ เข้าสู่ร่างกายในทางที่ผิดหรือในปริมาณที่เกินพอดี อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการโรคจิตเวชได้ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การเสพยาเสพติดอย่างโคเคน ยาบ้า (Amphetamine) ยาไอซ์ (Methamphetamine) ยาอี (MDMA: Ecstasy) ยาเค (Ketamine) หรือกัญชา เป็นต้น อีกกรณีหนึ่ง หากผู้ป่วยหยุดใช้สารดังกล่าวข้างต้นหลังจากใช้ติดต่อกันมาเป็น เวลานาน อาจทำให้เกิดอาการโรคจิตเวชได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในอาการถอนพิษยา นอกจากนี้ แม้เป็น กรณีที่พบได้น้อยมาก แต่ในบางครั้งอาการโรคจิตเวชอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาบางชนิด ได้ หรืออาจเกิดจากการใช้ยาเกินขนาดได้เช่นกัน (POBPAD, 2022) ปัจจัยทางสังคมสิ่งแวดล้อมนับเป็นปัจจัยที่คนทั่วไปให้ความสนใจ และกล่าวโทษว่าเป็น ต้นเหตุของการป่วยทางจิตบ่อยครั้งที่สุด เช่น กล่าวว่าการอยู่ในระดับสังคมที่ต่ำ ฐานะยากจน จะเป็น เหตุให้เป็นโรค schizophrenia มากกว่าคนที่อยู่ใ นระดับความเป็นอยู่ที่ดีกว่า ซึ่งจากการศึกษาที่เป็น ระบบแล้ว ไม่อาจพิสูจน์ได้ อย่างไรก็ตาม พบว่าปัจจัยทางสังคมนี้ มีผลอย่างมากในฐานะเป็น ตัวกระตุ้นให้เกิดอาการในผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอยู่แล้ว ซึ่งความเสี่ยงของแต่ละบุคคลอาจเป็นผล จากทั้งด้านพันธุกรรมหรือจากการเลี้ยงดูก็ได้ โดยทั่วไป ปัจจัยทางสังคมที่จิตแพทย์ให้ความสำคัญ มากที่สุดทั้งในด้านผู้ก่อปัญหา สร้างความแข็งแกร่ง หรือการรักษา ก็คือ ครอบครัว (ปราโมทย์ สุค นิชย์, 2554) 2.2 แนวคิดและทฤษฎีอาชญาวิทยา นักทฤษฎียุคปฏิฐานนิยม (Positive school) มีความเชื่อว่า มนุษย์ไม่สามารถควบคุม พฤติกรรม ตนเองได้อย่างเด็ดขาดโดยเฉพาะพฤติกรรมอาชญากรรม ดังนั้น ทฤษฎีแนวปฏิฐานนิยม อธิบายว่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3