2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

15 อาชญากรรมเกิดจากความผิดปกติหรือความบกพร่องด้านร่างกายหรือจิตใจของตัวมนุษย์ นักอาชญา วิทยาแนวนี้จึงพยายามหาคำตอบว่า ปัจจัยใดเป็นสาเหตุหรือก่อให้เกิดพฤติกรรมอาชญากรรม ซึ่ง สามารถแบ่งแยกได้ดังนี้ คือ ปัจจัยภายในร่างกาย ปัจจัยทางจิตใจ และปัจจัยทางสังคมแวดล้อม เป็น สาเหตุที่ทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมอาชญากรรม โดยผู้ที่เริ่มแนวความคิดหรือสำนักนี้ คือ ซีซาร์ ลอมโบร โซ (Cesare Lombroso, 1835- 1909) แพทย์ชาวอิตาลีเชื้อสายยิว ได้แบ่งอาชญากรทั้งหมดออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1) อาชญากรโดยกำเนิด (Born Criminals) เป็นพวกอาชญากรที่มีลักษณะทางกายภาพที่ บกพร่องและความบกพร่องนี้เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษในครั้งดึกดำบรรพ์ กล่าวคือ บุคคลพวก นี้มีการพัฒนาทางร่างกายล้าหลังหรือช้ากว่ามนุษย์ปกติธรรม ซึ่งลอมโบรโซเรียก บุคคลประเภทนี้ว่า “แอททาวิสทิค” (Atavistic) บุคคลที่มีลักษณะเช่นนี้นอกจากจะมี คุณสมบัติทางร่างกายด้อยกว่า บุคคลทั่วไปแล้ว บุคคลประเภทนี้ยังมีพฤติกรรมโหดร้ายป่าเถื่อน ชอบรังแก เบียดเบียน รวมทั้งชอบ ฆ่าหรือสังหารชีวิตของบุคคลอื่น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อความอยู่รอดของตนเอง ลอมโบรโซเชื่อว่า อาชญากรประเภทนี้มีอยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนอาชญากรทั้งหมด 2) อาชญากรวิกลจริต (Insane Criminals) เป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมอาชญากรรมอันมีสาเหตุมา จากความผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจ ตัวอย่างเช่น มีโรคร้าย มีอารมณ์ผิดปกติ ปัญญาอ่อน วิตกจริต ซึมเศร้า หรือได้รับผลจากโรคร้ายแรง ซึ่งรวมถึงการติดเหล้า มีอาการโรคประสาท โรค ลมบ้าหมู 3) อาชญากรที่ กระทำความผิดเพราะความกดดันทางอารมณ์ (Criminaloids) อาชญากร ประเภทนี้มีอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนอาชญากรทั้งหมด เป็นอาชญากรที่ไม่มีลักษณะ บกพร่อง ทางชีวภาคหรือจิตใจแต่อย่างใด หากแต่เป็นบุคคลที่มีภาวะจิตใจและอารมณ์ใน ลักษณะที่สามารถถูก กระตุ้นหรือจูงใจให้ประกอบอาชญากรรมได้โดยง่าย 4) อาชญากรที่กระทำผิดเป็นครั้งคราว (Occasional Criminals) เป็นอาชญากรที่มีลักษณะ ตรงกันข้ามกับอาชญากรโดยกำเนิด และโดยทั่วไปจะไม่มีพฤติกรรมอาชญากรรม หากแต่ บางครั้งได้ กระทำผิดไปอาจเนื่องมาจากถูกเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมบังคับ หรืออีกนัย หนึ่งบุคคลเหล่านี้จะ ประกอบอาชญากรรมเมื่ออยู่ภายใต้ภาวะเงื่อนไขบางประการที่ สนับสนุนให้กระทำผิด (กฤตภาส ไทย วงษ์, 2565) 2.3 สิทธิของผู้ถูกคุมขังในระหว่างการคุมขังในเรือนจำ หากดูตามตามความเข้าใจอย่างง่ายของคนทั่วไปภายนอกเรือนจำนั้น ผู้ต้องขังคงมีความหมายว่า บุคคลซึ่งกระทำความผิดทางอาญาและได้รับคำพิพากษาสูงสุดจากศาลให้รับโทษทางอาญาสถานหนัก อย่างการถูกจำคุก แน่นอนว่าการถูกตัดสินให้จำคุกเพื่อชดใช้ความผิดที่ได้ก่อไว้นั้น ย่อมส่งผลให้ บุคคลดังกล่าวถูกจำกัดสิทธิบางอย่างในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การถูกกักบริเวณเนื่องจากจะต้อง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3