2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

20 2.3.4 การฝึกวิชาชีพนอกเรือนจำและการจ้างงานผู้ต้องขัง การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “ประชารัฐ ร่วมสร้างงาน สร้างอาชีพ ผู้ต้องขัง” ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมราชทัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภา หอการค้าแห่งประเทศไทย โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสและสร้างคุณภาพชีวิต ที่ดีให้แก่ผู้ต้องขัง เตรียมความพร้อมในด้านทักษะฝีมือ จริยธรรม มีรายได้เป็นเงินทุนเพื่อนำไป ประกอบอาชีพหลังพ้นโทษ และไม่ให้กระทาผิดซ้ำ ซึ่งเป็นการส่งเสริมคนดีสู่สังคม กรมราชทัณฑ์ได้ ดำเนินการฝึกทักษะอาชีพไปแล้วจำนวน 35,562 คน จากเป้าหมายการดาเนินงาน 37,000 คน (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2561) โครงการนี้ได้นำผู้ต้องขังชั้นดีไปฝึกทักษะฝีมือนอกเรือนจำก่อนพ้นโทษ ซึ่งผู้ประกอบการ หรือนายจ้างผู้ควบคุมการฝึกจะเห็นความสามารถในการทำงานของผู้ต้องขัง หลายสถานประกอบการ มีการรับผู้พ้นโทษเหล่านี้เข้าทางาน เช่น บริษัท เอ็ดดี้โกล์ด จากัด (ทาทอง) โรงงานอุตสาหกรรม กระเบื้องดินเผาเด่นจันทร์ บริษัท เกรทวอลล์(1988) จำกัด เป็นต้น รวมทั้งสิ้น ๔๒ แห่ง (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2561) นอกจากนี้ กระทรวงแรงงาน มีการส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน โดยผู้พ้น โทษที่สนใจจะประกอบอาชีพอิสระ สามารถจดทะเบียนเป็นผู้รับงานไปทาที่บ้าน หรือกู้เงิ นจาก กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน สำหรับซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์การผลิต หรือขยายการผลิตเพื่อสร้าง อาชีพ และสร้างรายได้ให้กับผู้รับงานไปทำที่บ้านด้วย โดยมีวงเงินปล่อยกู้ตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ระยะเวลาผ่อนชาระ 2 - 5 ปี โดยระหว่างการฝึกทักษะฝีมือแรงงาน กรมราชทัณฑ์ ได้จัดผู้ควบคุมจากเรือนจำคอยกำกับดูแล จัดเตรียมรถ-รับส่งจากเรือนจำ อาหาร และ อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยในการทำงาน กรมราชทัณฑ์มีภารกิจที่สำคัญในการเสริมสร้างสังคมที่ดีมีคุณภาพ จึงไม่ใช่เพียงแต่การ ควบคุมดูแลบุคคลที่กระทำผิดเท่านั้น หากแต่มีภารกิจในการปรับและยกระดับคุณภาพของทรัพยากร บุคคลของสังคม ไม่ให้สร้างปัญหาและเป็นภาระของสังคม ดังนั้น กรมราชทัณฑ์จึงไม่ได้ควบคุมบุคคล ผู้ซึ่งกระทำความผิดแต่อย่างเดียว ยังต้องแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยโดยให้ได้รับโอกาสในการศึกษาอบรม ฝึกฝน ทักษะวิชาชีพทั้ งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และจัดหางานจากหน่วยงานภาครัฐและ ภาคเอกชน ที่ตลาดปัจจุบันต้องการเข้ามาให้ผู้ต้องขังได้ฝึกฝน จนเกิดความชำนาญ เช่น ตัดเย็บ เสื้อผ้า งานประกอบตัวถังรถบัส งานประกอบรถจักรยาน ล้างอัดฉีดรถยนต์ ผลิตเฟอร์นิเจอร์ แผ่น ยางรมควัน นวดแผนไทย เกษตรอินทรีย์ ปักมุก ดอกไม้ประดิษฐ์ ถักแห–อวน ผลิตวุ้นเส้น เป็นต้น นอกจากนี้ กรมราชทัณฑ์ได้ประชาสัมพันธ์เผยแพร่การรับจ้างแรงงานผู้ต้องขังให้สังคม ภายนอกได้รับรู้ถึงศักยภาพในการรับงานของผู้ต้องขัง เรือนจำ/ทัณฑสถานใดที่มีผู้พ้นโทษชำนาญงาน จะได้ติดต่อและรับเข้าทำงานในสถานประกอบการได้ เป็นการสนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้ต้องขังให้มีงานทำ มีความรู้ความชำนาญ ฝึกความเพียรให้มีความมานะอดทน รักการทำงาน ส่งผลทางด้านจิตใจให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และรายได้ส่วนหนึ่งผู้ต้องขังจะได้รับรางวัลปันผลไว้ใช้ จ่ายระหว่างต้องโทษ นอกจากเป็นการส่งเสริมการมีงานทำของผู้ต้องขังในระหว่างที่ถูกต้องโทษแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการทำงานของผู้ต้องขังก่อนกลับสู่สังคมภายนอก เมื่อพ้นโทษออกไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3