2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์
21 แล้ว ผู้ต้องขังได้รับความรู้และมีทักษะ สามารถหางานทำในสถานประกอบการได้ มีรายได้ในการ ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวภายหลังพ้นโทษ (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2561) 2.3.5 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฝึกวิชาชีพและการจ้างงานผู้ต้องขัง 2.3.5.1 พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เป็นการปรับปรุงกฎหมายราชทัณฑ์อย่าง เป็นระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานราชทัณฑ์ การพัฒนาบุคลากร เจ้าหน้าที่ เน้นระบบ การพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง โดยเริ่มตั้งแต่การรับตัวผู้ต้องขัง การจำแนก ตลอดจนการเตรียมความ พร้อมก่อนปล่อย เพื่อให้โอกาสแก่ผู้ต้องขังกลับสู่ครอบครัว สังคม และไม่กระทำผิดซ้ำอีก ควบคู่กับ การปกป้องสังคม โดยการเน้นควบคุม ผู้กระทำผิดที่มีพฤติการณ์เป็นภัยร้ายต่อสังคม หรืออาชญากร โดยสันดาน สิทธิและหน้าที่ของผู้ต้องขังตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ผู้ต้องขัง จะได้รับการปฏิบัติตามหลักมาตรฐานสากลมากขึ้น เช่น การคุ้มครองกรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศโดย เจ้าพนักงานของเรือนจำ และการได้รับคำแนะนำ และความช่วยเหลือ สำหรับผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตรจะได้รับคำแนะนำด้านสุขภาพและโภชนาการ การได้รับประโยชน์ เช่น การพักการ ลงโทษ มีหลักเกณฑ์ที่เคร่งครัดและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับประโยชน์เรื่องการออกไป ฝึกวิชาชีพ/ศึกษาอบรมนอกเรือนจำ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติประโยชน์ของผู้ต้องขังที่เกี่ยวข้อง กับการฝึกวิชาชีพในสถานประกอบการ ไว้ดังต่อไปนี้ มาตรา 52 (8) ได้รับการพิจารณาอนุญาตให้ ออกไปฝึกวิชาชีพในสถานประกอบการ หรือรับการศึกษาอบรมนอกเรือนจำโดยมีหรือไม่มีผู้ควบคุมก็ ได้ แต่การอนุญาตให้ออกไปฝึกวิชาชีพหรือรับการศึกษาอบรมนอกเรือนจำจะพึงกระทำได้ต่อเมื่อ นักโทษเด็ดขาดได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของกำหนดโทษ ตามหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดในขณะนั้น และเหลือโทษจำคุก ไม่เกินสามปีหกเดือนทั้งนี้ ให้คำนึงถึง ประโยชน์ในการศึกษาอบรมและแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยของนักโทษเด็ดขาด และความปลอดภัยของ สังคมประกอบกัน แต่ถ้านักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับอนุญาตให้ออกไปฝึกวิชาชีพในสถานประกอบการ หรือรับการศึกษาอบรมนอกเรือนจำโดยไม่มีผู้ควบคุมไม่กลับเข้าเรือนจำภายในเวลาที่กำหนดเกินกว่า ยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้ถือว่านักโทษเด็ดขาดผู้นั้นหลบหนีที่คุมขังตามประมวลกฎหมายอาญา ทั้งนี้ เพื่อ ส่งเสริมให้เอกชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง เป็นการเพิ่มโอกาสในการทำงานให้กับ ผู้ต้องขัง การดำเนินการตาม (2) (3) (5) (6) (7) และ (8) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่ อนไขที่ กำหนดในกฎกระทรวงโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และต้องนำ พฤติการณ์การกระทำความผิดลักษณะความผิด และความรุนแรงของคดี รวมตลอดทั้งการกระทำ ความผิดที่ได้กระทำมาก่อนแล้วตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 40 มาประกอบการพิจารณาด้วยเพื่อ ป้องกันการโต้แย้งจากผู้ต้องขังเมื่อมีคดีขึ้นสู่ศาลปกครองว่า ไม่มีบทบัญญัติให้น ำพฤติการณ์ก่อน ต้องโทษมาพิจารณาในการให้ประโยชน์แก่นักโทษเด็ดขาด อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3