2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

23 3) ได้รับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 และเหลือโทษจำคุกต่อไป ไม่เกิน 3 ปี 6 เดือน และไม่อยู่ในฐานความผิดที่ไม่อนุญาต 4) อัตราส่วนการควบคุม จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่ คน ต่อผู้ต้องขังได้ไม่เกิน 20 คน 5) เรือนจำและผู้ประกอบการจะร่วมกันจัดทำ “บันทึกข้อตกลงการประสาน ความร่วมมือ ในการคืนคนดีสู่สังคม” 6) ผู้ต้องขังจะได้รับค่าตอบแทนในลักษณะ “รางวัลปันผล” ตามที่กำหนดใน กฎกระทรวงและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 7) ไม่อนุญาตให้ผู้ต้องขังทำงานอันตราย ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายแรงงาน และไม่ อนุญาตให้ทำงานในสถานที่ของครอบครัว/เครือญาติ 8) ผู้ต้องขังที่จ่ายออกไปทำงานนอกเรือนจำ จะต้องกลับเข้าเรือนจำไม่เกินเวลา 19.00 นาฬิกา ในวันเดียวกัน (กรมราชทัณฑ์, 2561b) 2.3.6 ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำ (CARE : Center for Assistance to Reintegration and Employment) กรมราชทัณฑ์ การส่งเสริมให้ผู้ต้องขังมีงานทำหลังจากพ้นโทษแล้ว มีช่องทางให้ผู้ต้องขังและประชาชน ผู้สนใจเข้ารับบริการได้มากมาย ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้ตั้ง ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท ำ (CARE : Center for Assistance to Reintegration and Employment) เพื่ อให้การแก้ไขฟื้ นฟู ผู้ต้องขัง และการคืนคนดีสู่สังคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นระบบ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ ประกอบด้วย ผู้ต้องขัง ผู้พ้นโทษ ญาติ และครอบครัวผู้ต้องขัง รวมทั้งประชาชนผู้สนใจ มีวัตถุประสงค์เป็นศูนย์กลางเพื่อส่งเสริมและ ประสานการมีงานทำ จัดทำข้อมูลความต้องการมีงานทำของผู้ที่ใกล้พ้นโทษ รวบรวมและจัดทำข้อมูล ของผู้ประกอบการในตำแหน่งงานว่าง และประสานงานเครือข่ายในการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ และส่งต่อข้อมูลผู้พ้นโทษ โดยศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำ (CARE) ได้เปิดทำการพร้อม กันในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ในเรือนจำ/ทัณฑสถานทั่วประเทศ จำนวน 137 แห่ง (กรมราชทัณฑ์, 2561d) 2.4 หลักการ/แนวคิดในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขัง แม้บุคคลที่กล่าวถึงในงานวิจัยฉบับบนี้จะเป็นผู้ต้องขัง แต่เมื่อมีสิทธิที่ได้รับแล้ว สิทธิเหล่านั้นก็ ย่อมต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมและโดยเสมอภาคกัน แม้ว่าบุคคลเหล่านี้จะ หากแต่บุคคล เหล่านี้ก็ถือเป็นประชาชนภายในประเทศไทย ดังนั้นรัฐจึงมีหน้าที่คุ้มครอ งสิทธิของบุคคลให้มีความ เท่าเทียมกันทุกคนอย่างไม่เลือกปฏิบัติ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3