2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์
24 2.4.1 สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่สำคัญมีอยู่ 4 ประการ ประการแรก การมีสังคมที่มีสันติสุขอย่างแท้จริง กล่าวคือ ประชาชน อยู่ร่วมกันอย่างเอื้อ อาทร มีเมตตาเคารพในสิทธิซึ่งกันและกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์ ทั้งนี้ การส่งเสริมและ คุ้มครองสิทธิมนุษยชนควรผสมผสานเข้าไปเป็นวัฒนธรรม ที่สำคัญ ของสังคมไทยในอนาคต ประการที่สอง การมีสังคมที่มีการเคารพกฎหมาย ยึดหลักนิติธรรม (rule of law) ควบคู่ ไปกับหลักจริยธรรม โดยไม่ใช้หลักการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน เป็นเงื่อนไขในการแสวงหา ผลประโยชน์ส่วนตน หรือมุ่งร้ายซึ่งกันและกัน ประการที่สาม การมีสังคมที่มีความเป็นประชาธิปไตย สร้างโอกาส ความเสมอภาค และ ความยุติธรรมให้แก่บุคคลที่ด้อยโอกาสในสังคม ส่งเสริมหลัก การธรรมาภิบาล ทั้งในภาครัฐและภาค ประชาสังคม ประการที่สี่ การมีสังคมที่การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านการ พัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของสังคม แนวนโยบายพัฒนาสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 7 ประการ นโยบายสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึง ได้คำนึงถึงแนวคิดและเป้าหมายหลักดังกล่าวข้างต้นมากำหนดเป็นแนวนโยบาย 7 ประการ ดังต่อไปนี้ 1) ส่งเสริมให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชนตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่งเสริมให้มีการ เคารพสิทธิและเสรีภาพตลอดจนศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สำหรับบุคคลทุกคน ที่อาศัยอยู่ใน ราชอาณาจักรไทย ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างใน เรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทาง กาย หรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทาง เศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา อบรม หรือความคิดเห็น ทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2) บูรณาการเรื่องสิทธิมนุษยชนในการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ ทุกด้าน การพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศนั้นสามารถก่อให้เกิดทั้ง โอกาส และภัยคุกคามต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การนำแนวคิดด้านการคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนเป็น องค์ประกอบหนึ่งของการกำหนดแนวทางการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมจะช่วย ส่งเสริม สังคมที่เป็นประชาธิปไตย นำไปสู่กระบวนการ พัฒนาที่ยั่งยืนถาวร การมีสังคมที่สันติสุขและยึดหลัก นิติธรรม 3) ดำเนินการให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนควบคู่ไปกับ หน้าที่ความ รับผิดชอบ และจริยธรรม ดำเนินการให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนควบคู่ไปกับการ ตระหนักถึงหน้าที่ของพลเมือง การมีความรับผิดชอบต่อตนและสังคมและการมีจริยธรรมแก่ ประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ในภาครัฐ ผู้ประกอบการและผู้ใช้ แรงงานในภาคเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน ชุมชน สื่อสารมวลชน โดยคำนึงว่า การศึกษาและการเผยแพร่ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เป็นยุทธศาสตร์ หลักในการป้องกันปัญหาการละเมิดสิทธิ มนุษยชนในสังคมและใน การเสริมสร้าง วัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3