2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์
27 ต้องกลัวเรื่องความปลอดภัยในร่างกายของตน ไม่ควรใช้โซ่ตรวนเป็นเครื่องพันธนาการ ต้องมีการ รักษาระเบียบวินัยอย่างเข้มงวด แต่ไม่ได้เคร่งครัดเกินกว่าความจำเป็น เพื่อให้มีการคุมขังโดย ปลอดภัย และเพื่อการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย การกระทำผิดวินัยทุกกรณีและการลงโทษต้องเป็นไปตามที่กฎหมายหรือระเบียบที่ กำหนดไว้ผู้ต้องขังจะต้องไม่ถูกลงโทษก่อนที่จะได้รับแจ้งข้อกล่าวหา และต้องมีโอกาสในการเสนอข้อ แก้ต่างที่มี ต้องไม่ใช้ผู้ต้องขังด้วยกันในการลงโทษทางวินัย บรรดาการลงโทษอย่างทารุณโหดร้าย ไร้ มนุษยธรรม หรือลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถือเป็นเรื่องต้องห้ามโดยเด็ดขาด รวมทั้งห้ามการลงโทษ ทางร่างกาย หรือขังไว้ในห้องมืด การลงโทษโดยให้ขังไว้ในที่แคบ หรือให้ลดอาหารจะกระทำมิได้ เว้น แต่ว่าผู้ต้องขังคนนั้นได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์แล้วและรับรองว่ามีความแข็งแรงพอรับโทษนั้น ได้ จะต้องไม่ลงโทษด้วยการใส่เครื่องพันธนาการ ผู้ต้องขังที่จะต้องถูกลงโทษทางวินัยควรมีสิทธิ อุทธรณ์ต่อผู้บริหารในระดับสูงขึ้นไป (กรมราชทัณฑ์, 2561c) 2.5 รูปแบบการจำแนก คัดกรองผู้ต้องขังในเรือนจำ 2.5.1 ความหมายของการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง การจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง หมายถึง กระบวนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังเป็นรายบุคคล ด้วย การศึกษาวิเคราะห์ประวัติ ลักษณะทั่วไป สาเหตุของการกระทำผิด เพื่อการววางแผนในการปฏิบัติต่อ ผู้ต้องขังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ และการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังเป็น รายบุคคล (individual treatment) (ฐิติยา เพชรมุนี, 2559) โดยการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังมีที่มาจากพื้นฐานความคิดที่ว่า ผู้ต้องขังมีหลายประเภท บาง ประเภทเป็นพวกกระทำผิดจนเป็นนิสัย ยากต่อการแก้ไขฟื้นฟู บางกลุ่มบางประเภทมีแนวโน้มที่จะ แก้ไข ปรับปรุงได้ ดังนั้นการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังจึงเป็นวิธีการศึกษาที่จะทำความรู้จักกับผู้ต้องขัง รายบุคคล เพื่อจัดการควบคุมและแก้ไขผู้ต้องขังโดยคำนึงถึงการวิเคราะห์ วา งแผนช่วยเหลือ การ คัดเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมในแต่ละราย เน้นการส่งเสริมการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ แต่ละบุคคลในทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถปรับตัวเข้าสู่สังคม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ภายหลังพ้นโทษออกมาภายใต้แนวความคิดการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด (Rehabilitation) จากหลักการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังกลุ่มงานส่งเสริมด้านการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง กองทัณฑ ปฏิบัติ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ที่เน้นในเรื่องการจัดการควบคุมและแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง การ แยกประเภทผู้ต้องขัง หรือการแยกขังผู้ต้องขัง (Prisoner Segregation) แต่ละรายจึงเป็นส่วนหนึ่ง ของการจำแนกลักษณะผู้ ต้องขังในเบื้องต้น คำนึงถึงประเภทคดีไม่ให้มีการปะปนอยู่ ร่วมกัน สอดคล้องกับแนวคิดของ Richard Edney, Barrister ได้ให้คำจำกัดความของการจำแนกลักษณะ ผู้ต้องขังไว้ว่า การจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง เป็นกระบวนการที่มีลักษณะสำคัญอยู่ 2 ประการ 1) เป็นกระบวนการที่เน้นการประเมินผู้ต้องขังเป็นรายบุคคล โดยศึกษาวิเคราะห์ผู้ต้องขังเพื่อหา แนวทางหรือแผนทั้งในการควบคุม ซึ้งต้องมีการกำหนดระดับของการควบคุม และต้องมีแผนในการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3