2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

28 ปรับปรุงแก้ไข (Program) ที่จำเป็นตามความเหมาะสมกับสภาพผู้ต้องขังแต่ละคน และรวมถึงเรื่อง สถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมด้วย 2) เป็นกระบวนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง โดยศึกษาวิเคราะห์สภาวะของผู้ต้องขังในทุกๆ ด้าน เช่น ภูมิหลัง สภาวะครอบครัว การศึกษา การทำงาน รายได้ พฤติการณ์ในการกระทำผิด เป็นต้น โดยมี การดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการจำแนกลักษณะของเรือนจำ (Committee) ซึ่งคณะกรรมการ จำแนกลักษณะจะเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการศึกษาวิเคราะห์ กำหนดแผน และติดตามผลการ ปฏิบัติภายหลังการนำแผนไปปฏิบัติ (ปฤษดา เหล่าวาณิชย์, 2564) 2.5.2 แนวคิดทฤษฎีในการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง (Prisoners Classification) ก่อนปี ค.ศ.1870 การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดมุ่งเน้นการแก้แค้นทดแทน (retribution) และ การลงโทษ (punishment) เริ่มต้นการจำแนกลักษณะตั้งอยู่บนฐานของการแยกประเภทความผิด ผู้ต้องขังถูกจำแนกประเภทเพื่อวัตถุประสงค์ในการกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการลงโทษ ผู้ต้องขัง จะถูกนำตัวไปยังสถานที่ที่กำหนดและใช้เวลาในรูปแบบที่เหมือนกัน ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 19 การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดได้เปลี่ยนทิศทางเป็นการปฏิรูปการ ให้คำแนะนำและการแก้ไขฟื้นฟูเป็นเป้าหมายสำคัญ เมื่อจุดมุ่งหมายเหล่านี้มีความชัดเจนและได้รับ การยอมรับ การจำแนกลักษณะจึงได้เริ่มต้นด้วยการวินิจฉัยทางคลีนิค มีลำดับขั้นในการบำบัดที่ให้ ความสำคัญกับ “พยาธิวิทยาส่วนบุคคล” (personal pathologies) ของผู้กระทำผิด เนื่องจากการ กระทำผิดของผู้ต้องขังถูกสันนิษฐานว่าเป็นความบกพร่องจากการเจริญเติบโตและทักษะชีวิต งาน จำแนกลักษณะจึงมีขึ้นเพื่อที่จะพิสูจน์ว่าภาวะบกพร่องเช่นนี้สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ ระหว่างศตวรรษที่ 20 มีการใช้รูปแบบทางการแพทย์ในการจำแนกลักษณะเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว จากการสำรวจสาเหตุของอาชญากรรมทางด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยา อีกทั้งการเติบโตของ วิธีประเมินผู้ต้องขังที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แนวทางนี้ได้ดำเนินมาถึงช่วงต้น ค.ศ.1970 เริ่มสูญเสีย ความนิยม เนื่องมาจากความไม่พอใจของสาธารณชนจากอัตราการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรม ความ รุนแรง และความล้มเหลวในโปรแกรมการปรับตัวและการบำบัดรักษา ซึ่งนำไปสู่ระบบการจำแนก ลักษณะที่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง (Objective Classification System) ปัจจุบัน ปรัชญาว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย อยู่บนฐาน ของการลงโทษที่มุ่งแก้แค้นทดแทน (retributive punishment) เป็นมุมมองในการควบคุมดูแล ผู้กระทำผิด โดยการพิจารณาจากข้อสันนิษฐานดั้งเดิมเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการแก้ไขฟื้นฟูที่ถูกท้า ทายมากขึ้น ถึงความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการใช้เกณฑ์ที่จะกำหนดว่าจะให้ผู้ต้องขังถูกควบคุมใน สถานที่ที่กำหนดอย่างไร เมื่อไรจะอนุญาตให้ผู้ต้องขังมีส่วนร่วมในโปรแกรมการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด และจะอนุญาตหรือไม่ การพัฒนาเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมไปกับภาวะที่เรือนจำวิกฤติเต็มไปด้วยผู้กระทำ ผิด ซึ่งมีผลต่อยุทธศาสตร์การจำแนกลักษณะแบบดั้งเดิมในการควบคุมจัดการผู้ต้องขัง ระบบการจำแนกลักษณะเพื่อการแก้ไขฟื้นฟู ได้เปลี่ยนความคิดจากรูปแบบที่เป็นอัตวิสัย (Subjective Model) หรือเกี่ยวกับตัวผู้ปฏิบัติ ไปเป็นระบบการจำแนกลักษณะที่อยู่บนพื้นฐานความ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3