2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

29 เป็นจริง (Objective System) โดยที่รูปแบบอัตวิสัยมีความโน้มเอียงขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ไม่เป็น ทางการ นำไปสู่ความไม่สอดคล้องและความผิดพลาดในการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ ในทางกลับกัน ระบบที่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง (Objective System) ขึ้นอยู่กับการจัดทำนิยามปัจจัยเกี่ยวกับ กฎหมายให้เหมาะสม (เช่นความรุนแรงของความผิดที่เกิดขึ้น การลงโทษในครั้งก่อน เป็นต้น) และ พฤติกรรมส่วนบุคคล (เช่น อายุ สถานภาพสมรส เป็นต้น) รายการเหล่านี้ถูกให้น้ำหนักและถูกกำหนด คุณค่าที่แตกต่างกันภายในขอบเขตของการให้คานิยามที่เหมาะสมของเครื่องมือที่ใช้วัด จากนั้นนำมา ประเมินค่าระดับความเสี่ยงของผู้ต้องขังและโปรแกรมความต้องการระบบที่อยู่บนพื้นฐานความเป็น จริง (Objective System) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความยุติธรรม ความสอดคล้อง และการเปิดเผย ในกระบวนการตัดสินใจ (ฐิติยา เพชรมุนี, 2559) 2.5.3 กฎกระทรวงว่าด้วยกำหนดระบบการจำแนกลักษณะของผู้ต้องขัง การควบคุมและการ แยกคุมขัง และการย้ายผู้ต้องขัง พ.ศ. 2563 กฎกระทรวงว่าด้วยกำหนดระบบการจำแนกลักษณะของผู้ต้องขัง การควบคุมและการ แยกคุมขัง และการย้ายผู้ต้องขัง พ.ศ. 2563 ได้กำหนดลักษณะการจำแนกผู้ต้องขัง ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 2 ให้ผู้บัญชาการเรือนจำจัดให้มีแดนแรกรับหรือสถานที่แรกรับในเรือนจำโดยเฉพาะ สำหรับแยกขังผู้ต้องขังเข้าใหม่หรือรับย้ายจากเรือนจำอื่นเพื่อรอการจำแนกลักษณะของผู้ต้องขัง รายบุคคลก่อนที่จะส่งตัวไปรับการอบรม แก้ไข และฟื้นฟูจิตใจตามความเหมาะสมของผู้ต้องขัง รายบุคคล ข้อ 3 ให้ผู้บัญชาการเรือนจำแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรือนจำจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งคน ปฏิบัติ หน้าที่จำแนกลักษณะของผู้ต้องขัง โดยจะต้องเป็นนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าพนักงาน เรือนจำซึ่งผ่านการฝึกอบรมด้านการจำแนกลักษณะของผู้ต้องขังจากกรมราชทัณฑ์ เจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง มีหน้าที่ศึกษาและรวบรวมประวัติ ของผู้ต้องขังแต่ละคนและสังเกตพฤติกรรมของผู้ต้องขังในการใช้ชีวิตในเรือนจำ ข้อ 4 การจำแนกลักษณะของผู้ต้องขัง ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ขั้นพื้นฐาน ให้ดำเนินกำรกลั่นกรองผู้ต้องขัง โดยกำรจัดชั้น จัดกลุ่ม ควบคุม และแยกคุมขังผู้ต้องขัง (2) ขั้นแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นคนดี ให้นำ ข้อมูลจาก (1) และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์ การวางแผน และการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง รายบุคคลให้เหมาะสม (3) ขั้นการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัวผู้ต้องขัง ให้นำข้อมูลจาก (1) และ (2) มาใช้วางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัวผู้ต้องขังรายบุคคลให้เหมาะสม การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3