2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

30 ข้อ 5 ให้มีคณะทำงานเพื่อจำแนกลักษณะของผู้ต้องขังประจำเรือนจำ ประกอบด้วยผู้ บัญชาการเรือนจำเป็นประธาน และเจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งมีความรู้และความชำนาญในด้านการ ควบคุม การศึกษา การฝึกวิชาชีพ การบำบัดรักษา การพัฒนาจิตใจ หรือการสาธารณสุข จำนวนไม่ น้อยกว่าห้าคน เป็นคณะทำงาน และให้เจ้าพนักงานเรือนจำผู้รับผิดชอบงานจำแนกลักษณะของ ผู้ต้องขังเป็นคณะทำงานและเลขานุการ การแต่งตั้งคณะทำงานตามวรรคหนึ่ง อาจมีผู้แทนจากหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกร่วม เป็นคณะทำงานด้วยก็ได้ ข้อ 6 คณะทำงานเพื่อจำแนกลักษณะของผู้ต้องขังมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) กำหนดแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการจัด ชั้น จัดกลุ่ม ควบคุม แยกคุมขัง แก้ไข บำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นคนดี และการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัวผู้ต้องขัง (2) พิจารณาทบทวนและปรับเปลี่ยนแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล (3) ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการจำแนกลักษณะของผู้ต้องขัง ข้อ 7 ให้ผู้บัญชาการเรือนจำจัดประชุมคณะทำงานเพื่อจำแนกลักษณะของผู้ต้องขังอย่าง น้อยเดือนละหนึ่งครั้ง การประชุมของคณะทำงำนต้องมีคณะทำงำนมำประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน คณะทำงานทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก คณะทำงานคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งใน การลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ ขาด ความเห็นของคณะทำงานให้เป็นที่สุด ข้อ 8 ให้เจ้าพนักงานเรือนจำติดตามผลการปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง รายบุคคลหลังจากที่ผ่านการจำแนกลักษณะของผู้ต้องขังไปแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน ข้อ 9 คณะทำงานตามข้อ 5 อาจทบทวนแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล ก่อนครบ ระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ 8 ได้ หากปรากฏข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้ (1) พบปัญหาขัดข้องจากการปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล (2) พบข้อมูลใหม่ที่เป็นสาระสำคัญต่อการจำแนกลักษณะของผู้ต้องขัง ในกรณีผู้ต้องขังเจ็บป่วย มีโรคประจำตัว หรือมีเหตุจำเป็นจนไม่อาจปฏิบัติตามแผนการ ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคลได้ ผู้บัญชาการเรือนจำอาจสั่งให้งดการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวได้จนกว่า จะมีการรายงานต่อคณะทำงานตามข้อ 5 เพื่อพิจารณาทบทวนแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3