2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

31 ข้อ 10 ให้เรือนจำจัดเก็บข้อมูลการจำแนกลักษณะของผู้ต้องขังเพื่อการสืบค้น โดยให้นำ เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ และนำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาการเลื่อนชั้น หรือลดชั้น การย้ายผู้ต้องขัง การงานของผู้ต้องขัง การพักการลงโทษ การลดวันต้องโทษจำคุก และการให้ ประโยชน์แก่ผู้ต้องขังอย่างอื่นด้วย ข้อ 15 ให้ผู้บัญชาการเรือนจำแยกคุมขังผู้ต้องขังในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ต้องขังมีพฤติการณ์ที่อาจจะก่อเหตุร้ายหรืออาจจะก่อความไม่สงบเรียบร้อย ขึ้นในเรือนจำ หรือมีเหตุพิเศษอย่างอื่น ให้แยกผู้ต้องขังคนนั้นไปรวมกับผู้ต้องขังประเภทอื่น หรือ สถานที่อื่นภายในเรือนจำ (2) ผู้ต้องขังหลายคนในคดีเดียวกัน ให้แยกผู้ต้องขังแต่ละคนมิให้ปะปนกัน เว้น แต่กรณีมีเหตุจำเป็น (3) ผู้ต้องขังป่วยด้วยโรคติดต่อหรือโรคอื่นที่อยู่ในระยะอันตราย ให้แยกผู้ต้องขัง ป่วยออกจากผู้ต้องขังคนอื่น (กฎกระทรวง กำหนดระบบการจำแนกลักษณะของผู้ต้องขัง การควบคุม และการแยกคุมขัง และการย้ายผู้ต้องขัง พ.ศ. 2563, 2563) 2.5.4 ผู้ต้องขังกลุ่มพิเศษ (Special Categories of Prisoners) ผู้ต้องขังกลุ่มพิเศษ หมายความถึงผู้ต้องขังในกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ อาจแยก การคุมขังออกจากผู้ต้องขังทั่วไป ได้แก่ เด็กในความดูแลของผู้ต้องขัง ผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ ผู้ต้องขัง สูงอายุ และผู้ต้องขังพิการ 2.5.4.1 การไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination) ทุกคนมีความเสมอภาคกันตาม กฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ ทุกคนมี สิทธิในอิสรภาพแห่งความคิด มโนธรรม และศาสนา และบุคคลที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มศาสนา หรือ ภาษาของชนกลุ่มน้อยต่างๆ ย่อมมีสิทธิในวัฒนธรรม ศาสนาและภาษาของตน ผู้ต้องขังรายใดไม่ เข้าใจภาษาหรือไม่ได้พูดภาษาเดียวกับเจ้าหน้าที่ดูแล มีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องโดยทันที ในภาษาที่เขาเข้าใจ ผู้ต้องขังที่เป็นชาวต่างชาติจะได้รับการอำนวยความสะดวกตามความเหมาะสมใน การสื่อสารกับผู้แทนทางการทูตจากประเทศของตน ผู้ต้องขังจากรัฐซึ่งไม่มีผู้แทนทางการทูตประจำ อยู่ในประเทศ หรือเป็นผู้ลี้ภัย หรือเป็นบุคคลไร้รัฐ จะต้องได้รับอนุญาตให้ได้รับความสะดวกตามควร เพื่อสื่อสารกับผู้แทนทางการทูตของรัฐซึ่งดูแลผลประโยชน์ของผู้ต้องขัง หรือกับหน่วยงานในประเทศ หรือระหว่างประเทศซึ่งมีภารกิจในการคุ้มครองบุคคลดังกล่าว (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560, 2560) 2.5.4.2 ผู้หญิงในเรือนจำ (Women in prison) ผู้หญิงมีสิทธิได้รับความเท่าเทียมกัน และ ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทุกด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม พลเมือง และใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3