2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์
34 ศาลยังไม่พิจารณาคดีจะต้องได้รับอนุญาตให้สวมใส่เสื้อผ้าของตนเองได้ ถ้าหากมีความสะอาดและ เหมาะสม ถ้าหากผู้ต้องขังที่ศาลยังไม่พิจารณาคดีรายใดต้องสวมเสื้อผ้าของเรือนจำ ชุดที่สวมใส่ จะต้องแตกต่างจากชุดที่จัดให้ผู้ต้องขังที่ถูกพิพากษาลงโทษแล้ว ผู้ต้องขังที่ศาลยังไม่พิจารณาคดีต้อง ได้รับการเสนอโอกาสให้ทำงาน แต่ต้องไม่เป็นการบังคับให้ทำงาน โดยทั่วไปผู้ต้องขังที่ศาลยังไม่ พิจารณาคดีต้องได้รับอนุญาตให้ใช้เงินของตนเองซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และเครื่องเขียนได้ ผู้ต้องขัง ที่ศาลยังไม่พิจารณาคดีต้องได้รับอนุญาตให้แพทย์หรือทันตแพทย์ของตนเข้าเยี่ยมได้ ตามหลักทั่วไปผู้ที่รอการพิจารณาคดีไม่จำเป็นต้องถูกควบคุมตัว การปล่อยตัวระหว่างรอ การพิจารณาคดีจะต้องกระทำโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ ผู้ถูกควบคุมตัวในชั้นก่อนการพิจารณาของศาล ต้องมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อหน่วยงานยุติธรรมหรือหน่วยงานอิสระอื่นเพื่อคัดค้านการควบคุมตัวดังกล่าว บุคคลที่ถูกจับกุมหรือถูกคุมขังโดยยังไม่ตั้งข้อหาจะต้องได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกันและได้รับ ความสะดวกเช่นเดียวกับผู้ถูกควบคุมตัวในชั้นก่อนการพิจารณาของศาล และผู้ที่กำลังรอการพิจารณา คดี (สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2550) 2.6 กฎหมายระหว่างประเทศ ในงานวิจัยฉบับบนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาถึงหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของ ผู้ต้องขังซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ/ทัณฑสถาน ดังนี้ 2.6.1 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights (UDHR)) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติซึ่งประกอบด้วยสมาชิกประเทศต่างๆ ได้ลงมติรับรองและ ประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นหลักการสำคัญในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ของประชาคมโลกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2491 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และถึงแม้ว่า ปฏิญญาฉบับนี้จะไม่ใช่สนธิสัญญาระหว่างประเทศแต่ก็จัดเป็นกฎหมายจารีตระหว่างประเทศด้าน สิทธิมนุษยชนที่สำคัญที่สุด ซึ่งประเทศต่างๆ จำต้องเคารพต่อหลักการสิทธิมนุษยชนที่ได้ตราไว้ใน ปฏิญญาฉบับนี้ โดยที่ปฏิญญาฉบับนี้ยังเป็นพื้นฐานสำคัญของสนธิสัญญาหรือกฎหมายระหว่าง ประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ อีกหลายฉบับ รวมทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมืองและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ในส่วนที่ เกี่ยวกับสิทธิด้านสุขภาพ ไว้ใน ข้อ 25 คุณภาพชีวิตที่ดี (1) กล่าวว่า “ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอ สำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของตนและครอบครัว รวมทั้ง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยการ ดูแลรักษาทางแพทย์ และบริการทางสังคมที่จำเป็น และมีสิทธิในหลักประกัน ยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ หม้าย วัยชรา หรือปราศจากการดำรงชีพอื่น ในสภาวะแวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน” (AMNESTY INTERNATIONAL THAILAND, 2020)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3