2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

35 2.6.2 ข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังฉบับ ปรับปรุง (ข้อกำหนดแมนเดลา) ปัจจุบันมีผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก จำนวนกว่า 10.2 ล้านคนถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำทั่วโลก โดยหนึ่งในสามของประชากรกลุ่มนี้อยู่ระหว่างรอการพิจารณาคดี ข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำแห่ง สหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังฉบับปรับปรุง (ข้อกำหนดแมนเดลา) ได้รับการลงมติ เห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากสมัชชาแห่งสหประชาชาติในเดือนธันวาคม 2015 ข้อกำหนดนี้วาง มาตรฐานขั้นต่ำในการบริหารจัดการเรือนจำที่ดี รวมทั้งประกันว่าสิทธิของผู้ต้องขังต้องได้รับความ เคารพข้อกำหนดแมนเดลาไม่ใช่ข้อกำหนดที่เขียนขึ้นใหม่ทั้งหมด แต่เป็นการปรับปรุงของข้อกำหนด มาตรฐานขั้นต่ำแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ปี 1955 (Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners - SMR) 8 หัวข้อสำคัญ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐาน ด้านการราชทัณฑ์และสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 1955 หลักการพื้นฐานข้อกำหนดที่ 1-5 ได้กำหนดหลักการพื้นฐานไว้ดังต่อไปนี้: 1) ผู้ต้องขังทุกคนพึงได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพต่อศักดิ์ศรีอันมีติดตัวมาแต่กำเนิด และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ 2) ห้ามมีการทรมานหรือการปฏิบัติอื่นๆ ที่ทารุณโหดร้าย 3) การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังต้องคำนึงถึงความต้องการพื้นฐานของผู้ต้องขังนั้น โดยไม่เลือก ปฏิบัติ 4) วัตถุประสงค์ของเรือนจำ คือ การคุ้มครองสังคมให้ปลอดภัยและลดการกระทำผิดซ้ำ 5) สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ต้องขัง เจ้าหน้าที่ ผู้ให้บริการด้านต่างๆ ในเรือนจำ และผู้เข้า เยี่ยม จะต้องได้รับความปลอดภัยตลอดเวลา 2.6.2.1 การรับตัวเข้าเรือนจำ ข้อกำหนดที่ 59 การเลือกสถานที่คุมขัง ข้อกำหนดได้ระบุให้ผู้ต้องขังได้รับการ จัดให้อยู่ในเรือนจำที่ใกล้บ้านเพื่อประโยชน์ในการบำบัดฟื้นฟูทางสังคม ข้อกำหนดที่ 7, 8 การลงทะเบียน ข้อมูลที่ควรรวบรวมและบันทึกไว้ในระบบงาน ทะเบียนผู้ต้องขัง รวมถึง ชื่อและที่อยู่ของครอบครัว ร่องรอยบาดเจ็บที่สามารถมองเห็นได้และคำ ร้องเรียนใดๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ทารุณโหดร้ายซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้าการรับตัว ข้อกำหนดที่ 54, 55 ข้อมูล เมื่อผู้ต้องขังมาถึงเรือนจำ ผู้ต้องขังต้องได้รับข้อมูล เกี่ยวกับเรือนจำ รวมทั้งระเบียบข้อบังคับของเรือนจำและวิธีเข้าถึงการให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ข้อมูลเหล่านี้ต้องอยู่ในภาษาหรือรูปแบบที่ผู้ต้องขังสามารถเข้าใจได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3