2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์
38 2.6.2.5 สุขภาพกายและสุขภาพจิต ข้อกำหนดที่ 24-29, 31 การเข้าถึงการดูแลสุขภาพ รัฐมีหน้าที่ดูแลผู้ถูกลิดรอน เสรีภาพ ดังนั้นผู้ต้องขังต้องมีสิทธิได้รับการดูแลสุขภาพที่มีมาตรฐานเดียวกับที่รัฐจัดให้กับประชาชน ทั่วไปและตามแนวปฏิบัติที่ดี การจัดการการดูแลสุขภาพภายในเรือนจำควรทำร่วมกับหน่วยงาน บริการด้านสุขภาพในชุมชนเพื่อความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วย ข้อกำหนดยังอธิบายถึงรายละเอียด ของบริการดูแลสุขภาพต่างๆ ภายในเรือนจำ ซึ่งต้องครอบคลุมถึงการดูแลรักษาบุตรของผู้ต้องขังที่ อาศัยอยู่ในเรือนจำอีกด้วย ข้อกำหนดที่ 25, 30-34 บทบาทของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ทาง การแพทย์ในเรือนจำต้องมีหน้าที่ที่แยกกันอย่างชัดเจนจากงานบริหารเรือนจำ และพึงปฏิบัติงานตาม หลักจรรยาบรรณทางการแพทย์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกับหลักที่ใช้ภายนอกเรือนจำ เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ ประเมิน ดูแล และรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้ป่วย - ผู้ต้องขัง หน้าที่เหล่านี้ยังรวมถึงการ ดูแลรักษาภาวะติดเชื้อต่าง ๆ อาการติดสารเสพติด สุขภาพจิต และสุขภาพฟัน เจ้าหน้าที่ทาง การแพทย์ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานบริหารจัดการเรือนจำ เช่นการลงโทษทางวินัย การตัดสินใจ ทางการแพทย์ใดๆ ต้องไม่ถูกแทรกแซงหรือละเลยจากเจ้าหน้าที่คนอื่น นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ทาง การแพทย์มีหน้าที่รายงานหากพบว่าผู้ต้องขังมีอาการหรือร่องรอยที่อาจเกิดจากการทรมานหรือการ ปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรม ข้อกำหนดที่ 26, 32 ผู้ต้องขังในฐานะผู้ป่วย ผู้ต้องขังมีสถานะเป็นผู้ป่วยตามปกติ เมื่อเข้าพบแพทย์ ผู้ป่วยต้องให้ความยินยอมบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง (Informed consent) สำหรับการตรวจหรือรักษาทางการแพทย์ ประวัติการรักษาของผู้ต้องขังต้องถูกเก็บเป็นความลับ อย่างไรก็ดี เรือนจำอาจเปิดเผยเฉพาะข้อมูลส่วนที่จำเป็นสำหรับการดำเนินมาตรการควบคุมโรคเพื่อ ควบคุมโรคติดต่อและป้องกันการแพร่เชื้อสู่เจ้าหน้าที่หรือผู้ต้องขังคนอื่น ข้อกำหนดที่ 35 คำแนะนำด้านสุขภาพ หน่วยงานสาธารณสุขควรจัดให้มีการ ตรวจเรือนจำอย่างสม่ำเสมอ และให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารเรือนจำเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อ สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่เรือนจำ เช่น อาหาร สุขลักษณะของเรือนจำ สุขอนามัย อุณหภูมิ แสง การถ่ายเทของอากาศ และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ 2.6.2.6 การปล่อยตัว ข้อกำหนดที่ 67 ทรัพย์สินส่วนตัว ทรัพย์สินหรือเงินที่ถูกยึดไว้จากผู้ต้องขังเมื่อ แรกเข้าต้องถูกส่งคืนให้ผู้ต้องขังในวันปล่อยตัวทั้งหมด และทรัพย์สินดังกล่าวต้องได้รับการดูแลให้อยู่ ในสภาพดี ควรให้ผู้ต้องขังลงนามเพื่อรับทรัพย์สินคืน ข้อกำหนดที่ 88, 90 การกลับคืนสู่สังคม ผู้ต้องขังควรได้รับโอกาสในการเตรียม ตัวเพื่อกลับสู่สังคมภายนอก เช่น จัดให้มีโครงการเตรียมความพร้อมก่อนการปล่อยตัว เรือนจำแบบ เปิด และควรมีการดูแลผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ (สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย, 2559)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3