2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

100 ผลการสัมภาษณ์จากกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานการบินพลเรือน เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กสทช) ซึ่งเป็นคำถามที่สอดคล้องกับ ประเด็นปัญหาวัตถุประสงค์การใช้งานอากาศยานไร้ คนขับเพื่อการเกษตร ส่วนใหญ่มีทิศทางของคำตอบ เหมาะสมสำหรับการเพิ่มวัตถุประสงค์การใช้งาน เพื่อการเข้าไปเกษตร สืบเนื่องจาก เป็นการนำเทคโนโลยีที่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการทำ เกษตร ลดระยะเวลาในการทำงาน ลดการเหยียบย่ำในแปลงนา ลดอันตรายจากการสัมผัสสารเคมี และ ช่วยทำให้การดูแลพืชของเกษตรกรได้อย่างตรงจุดกว่าเพื่อสอดสองการเจริญเติบโตหรือความ ผิดปกติของพืชได้จากมุมสูง เป็นต้น และ ผลการสัมภาษณ์จากกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้โดรนในการ ประกอบอาชีพ และ กลุ่มเครือข่ายภาคีเพื่อการเกษตร กับคำถามที่สอดคล้องกับ ประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์การใช้งานอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร พบว่า เหมาะสม สืบเนื่องจาก ถ้ามีการ เพิ่มวัตถุประสงค์เฉพาะทางด้านนี้ คิดว่า กลุ่มผู้ใช้โดรนในการประกอบอาชีพ สามารถนำโดรนมาใช้ ประโยชน์ในภาคเกษตรกรรมได้อย่างหลากหลาย ซึ่งส่งผลดีทุกๆกลุ่มที่เกี่ยวข้องการใช้งานโดรนทาง การเกษตร ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่ายทางด้านสารเคมี และกลุ่มเกษตรที่รับจ้าง ความปลอดภัย ด้านต่อสุขภาพ เป็นต้น จากการวิเคราะห์เอกสารและผลสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นประเภทและ วัตถุประสงค์การใช้งานอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร ผู้วิจัยเห็นว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงือนไขในการบังคับหรือปล่อย อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 ยังมีปัญหา เรื่องของประเภทและวัตถุประสงค์ใช้งานอากาศยานไร้คนขับทางการเกษตร เล็งเห็นว่า ถ้าหากนำ แนวความคิดการรับรู้ประโยชน์ และ แนวความคิดการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ควรนำมาปรับใช้ งาน สืบเนื่องจากแนวความคิดทั้งสอง มีความสำคัญต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ เนื่องจากเป็นตัวกำหนดว่าและชี้เป้าหมายถึงผู้ใช้งานว่าจะยอมรับและนำเอาเทคโนโลยีมาใช้งานมาก น้อยเพียงใด และหากผู้ใช้งานรับรู้ว่ามีการใช้งานที่ง่าย จะส่งผลให้ผู้ใช้งานมีโอกาสจะยอมรับและ นำเอามาใช้งานประยุกต์เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นถ้าหากนำเอากฎระเบียบและข้อบังคับการใช้งานอากาศ ยานไร้คนขับของประเทศสหรัฐอเมริกา (CFR) ในบทที่ 14 ข้อ 137 ได้แก่ คำจำกัดความของ ข้อกำหนด ข้อจำกัดของผู้ควบคุมอากาศยานส่วนบุคคลเพื่อการเกษตร เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาแก้ไข เพิ่มเติมประเภทวัตถุประสงค์การนำโดรนไปใช้ในทางการเกษตรของประเทศไทย ลงในประกาศ กระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงือนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่ง ไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 จะช่วยให้สามารถกำหนด หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้งานโดรนในทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสมในอนาคต

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3