2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

105 บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 ในข้อ 4 (1) กำหนดให้ อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเล่นเป็นงานอดิเรก ความบันเทิง หรือการกีฬา และ ประเภท ที่สอง ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจาก (1) แต่ไม่มีการกำหนดประเภทวัตถุประสงค์ การนำโดรนไปใช้ ในทางการเกษตร รวมถึงกำหนดการใช้หัวฉีดพ่นและสารเคมีทางเกษตร ซึ่งยังไม่มีกฎหมายมาควบคุม แต่อย่างใด ดังนั้นงานวิจัยนี้ต้องการศึกษาปัญหา การควบคุมการขึ้นทะเบียนอากาศยานไร้คนขับเพื่อ ใช้ประโยชน์กับเกษตรกรเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนของกฎหมายในการนำอากาศยานไร้คนขับมาใช้กับ เกษตรกร ในประเด็นปัญหาการใช้โดรนอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความปลอดภัย และลดอันตรายต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม จากกรณีประเด็นปัญหาการนำโดรนมาใช้งานทางการเกษตร ที่ผู้วิจัยตั้งไว้ว่า ใช้งานโดรนอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรมีการจำเป็นที่จะต้องมีการผสมสารเคมีชนิดต่าง ๆ ควบคู่กับการผสมน้ำที่มีสัดส่วนที่ต่างกันออกไปตามชนิดของพืชพันธุ์ ซึ่งตัวสารเคมีที่ถูกนำมาใช้ส่วน ใหญ่มักมีการตกค้าง และถ้าหากมีการใช้สารเคมีที่เพิ่มมากขึ้น อาจจะก่อให้เกิดปัญหา สารเคมีตกค้าง บนหน้าดิน และขณะเดียวกันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาการฟุ้งกระจายที่เป็นวงกว้าง เพราะการใช้โดรน พ่นสารเคมี หว่านฮอร์โมน หรืออื่น ๆ ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้คนที่อยู่ใน ละแวกใกล้เคียงสูดดมสะสม และก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว เมื่อพิจารณาประกาศกระทรวงคมนาคม พ.ศ.2558 หลักเกณฑ์การขออนุญาต และเงื่อนไขในการ บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก กรณีที่ จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนทำการบิน และระหว่างทำการบิน ในข้อ 5 (2) (ก) ห้ามทำการบินใน ลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และรบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเด็นปัญหาประกอบกับกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้น พบว่า ในข้อ (ก) ห้ามทำการบินในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และรบกวนความสงบสุข ของบุคคลอื่น ซึ่งการใช้งานโดรนทางการเกษตร มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น มีการผสม สารเคมีชนิดต่าง ๆ ควบคู่กับการผสมน้ำที่มีสัดส่วนที่ต่างกันออกไปตามชนิดของพืชพันธุ์ ซึ่งตัว สารเคมีที่ถูกนำมาใช้ส่วนใหญ่มักมีการตกค้าง หรือการใช้โดรนพ่นสารเคมี หว่านฮอร์โมน หรืออื่น ๆ ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นอาจจะก่อให้เกิดปัญหาการฟุ้งกระจายที่เป็นวงกว้าง สภาพผู้คนที่ อยู่ในละแวกใกล้เคียงสูดดมสะสม และก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว ปัญหาเหล่านี้ล้วน เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความอันตราย และไม่ปลอดภัยต่อคนร่วมกับสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามการใช้โด รนสำหรับทางการเกษตร มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยกว่าเดิม ดังนั้นหากมีการเพิ่มเติม และสร้าง ขอบเขตมาตรการความปลอดภัยทางกฎหมายในการใช้งานโดรนทางการเกษตรขึ้นมา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3