2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

106 ปัจจุบันประกาศกระทรวงคมนาคม พ.ศ.2558 ยังไม่มีการกำหนดมาตรการ บังคับให้ใช้เฉพาะหัวฉีด แบบผสมอากาศ สำหรับการพ่นด้วยโดรนของประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายมาควบคุม ดังนั้นการเลือก หัวฉีดโดรนเพื่อการเกษตร ถือเป็นสาระสำคัญที่ช่วยสร้างความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เพราะ ถ้ามี การนำสารเคมีที่จำเป็นต่อการเกษตรมาใช้งานในอัตราส่วนที่ไม่ตรงตามคำแนะนำ อาจจะทำให้ ตัว สารเคมีที่ใช้ไม่ตกบนพื้นที่เป้าหมาย ส่งผลให้เกิดการดื้อยาและแมลงศัตรูพืชมีการต่อต้าน ทำให้ ประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชไม่ดี ต้องพ่นซ้ำ นำพามาให้เกิดสารเคมีตกค้างบนหน้าดิน ดังนั้น การ เปลี่ยนชนิดหัวฉีด จากหัวพัดธรรมดาทั่วไป เป็น หัวฉีดผสมอากาศแบบพัดคู่ จะลดการปลิวของ ละอองสารได้ 90-95% พ่นได้ทั้งวันโดยไม่ต้องรอลมสงบ หลักการทำงานของหัวฉีดผสมอากาศแบบ พัดคู่ คือ หัวฉีดจะมีการพ่นละอองออกมาเป็นม่านน้ำรูปพัด 2 ชั้น เมื่อลมพัดแรงปะทะม่านน้ำด้านใด ด้านหนึ่ง จะมีละอองน้ำแกนดันด้านหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นฉากกั้น ให้ละอองไปปะทะและตกลงพื้นดิน เป็นหยดน้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงไม่ปลิวไปตามกระแสลม ทำให้ละอองจะไม่ฟุ้งจึงดูเหมือนว่าไม่ได้พ่น ต่างจากหัวพัดทั่วไปที่มีละอองฟุ้งเมื่อโดนใบพัดลมจากโดรน จึงเห็นละอองฟุ้งกระจาย ชัดเจน แต่มี โอกาสสูงที่จะปลิวไปตามลมได้ไกล อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี และวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมาย ในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับเพื่อประโยชน์กับเกษตรกร กรณีประเด็น ใช้โดรนอย่างไรให้ ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมซึ่ง วิชัย โอภานุกุล และคณะ (2564) จากรายงานผลวิจัยเรื่อง โครงการวิจัย และพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ (Drone) สำหรับพ่นสารชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช ผลการวิจัยพบว่า วิธีใช้โดรนพ่นสารชีวภัณฑ์บีทีสำหรับป้องกันกำจัดหนอนใยผักในคะน้า ซึ่งดำเนินการทดสอบ โดย สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช โดยพ่นเปรียบเทียบกับแรงงานคน ผลการทดสอบพบว่า การพ่นด้วย โดรนมีความหนาแน่นของละอองสารมากกว่า 30 ละออง/ตารางเซนติเมตร ทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ซึ่งเป็นระดับความ หนาแน่นของละอองสารที่เพียงพอต่อการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชคือมากกว่า 30 ละออง/ตารางเซนติเมตร นอกจากนี้ไม่พบความแตกต่างของการตกค้างของละอองสารบนต้น คะน้าจากการพ่นทั้ง 3 กรรมวิธี สำหรับการ ปลิวของละอองสารบนพื้นที่นอกเป้าหมายจากโดรนพบ ปลิวเพียง 4 เมตร ขณะที่วิธีการของเกษตรกรพบการปลิว 3 เมตร และไม่พบการตกค้างของละออง สารบนร่างกายผู้พ่นจากการพ่นด้วยโดรน ในขณะที่การพ่นของเกษตรกร พบการตกค้างของละออง สารบนร่างกายผู้พ่นเฉลี่ยสูงถึง 212.6 ± 54.7 ไมโครกรัม/ตารางเซนติเมตร ประกอบกับ Bu Sayed MD Sayem (2017) ผ ล ง า น วิ จั ย เ รื่ อ ง Agticultural Drone: A Green-TechTechnology มี วัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจของอากาศยานซึ่งไม่มีคนขับทางการเกษตร โดยใช้แนวคิดของ Technology Push and Market Pull Innovation Model พบว่า อากาศยาน ซึ่งไม่มีนักบินเพื่อการเกษตรมีส่วนช่วยให้การทำเกษตรกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จาก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3