2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

107 การแม่นยำในการทำงานและการ วัดค่าข้อมูล ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดการใช้สารเคมีให้น้อยลงใน การฉีดพ่นและทำให้การทำเกษตรกรรมมีความปลอดภัยและลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แนวความคิดเทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนา ด้านการเกษตร Plooksakul (2013) ได้ระบุว่า สารสนเทศด้านการเกษตร คือ รากฐานสำคัญ และเป็นสิ่งจำเป็นอันจะขาดมิได้ในการพัฒนาการ เกษตรของประเทศไทย เพราะสารสนเทศเป็นที่มาของความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะสร้างให้เกิด มูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งในด้านการผลิต การจัดการการตลาด และการแปรรูป ผลิตภัณฑ์การพัฒนาสารสนเทศด้านการเกษตรให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องดำเนินการ อย่างเป็นระบบ ในลักษณะของเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานผู้ผลิตสารสนเทศทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนถึงผู้ใช้สารสนเทศ ทั้งที่เป็นองค์กรและบุคคล เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถ นำมาประยุกต์ใช้ เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร แนวความคิดการปฏิวัติการเกษตรระยะที่ 3 (3"Green Revolution for Smart Farm) เกษตร อัจฉริยะ (Smart Farming) เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย มาใช้กับ การเกษตรซึ่งนำไปสู่สิ่งที่ เรียกว่า การปฏิวัติการเกษตร ระยะที่สาม หลังจากการปรับปรุงพันธุ์พืช และการปฏิวัติทางพันธุศาสตร์ การปฏิวัติ การเกษตรระยะที่สามครั้งนี้ได้เข้ายึดครองโลกเกษตรโดย อาศัยการประยุกต์ใช้โซลูชั่นด้าน ICT เช่น อุปกรณ์ที่มีความ แม่นยำ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things (IoT) เซ็นเซอร์และตัวขับเร้า (Sensor and Actuator) ระบบพิกัดตำแหน่ง (Geo Position System) อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน (UAV, Drone) และหุ่นยนต์ (Robotics) จากการวิเคราะห์แนวความคิดเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาการเกษตร ประกอบกับ แนวความคิดการปฏิวัติการเกษตรระยะที่ 3 (3"Green Revolution for Smart Farm) ถือว่าเป็น รากฐานที่สำคัญ และจำเป็นในการพัฒนาทางด้านเกษตร ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ใน ลักษณะของเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานผู้ผลิตสารสนเทศทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนถึงผู้ใช้สารสนเทศ เพราะเป็นการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัย และอุปกรณ์เกี่ยวข้องมา ประยุกต์ใช้ เช่น เซ็นเซอร์ความแม่นยำ (GPS) (IoT) หรือ หุ่นยนต์ โดยอาศัยสารสนเทศเป็นที่มาของ ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์รวมถึงมูลค่าเพิ่มทางเกษตร จากผลการวิจัยทั้งสองดังกล่าวข้างต้น พบว่า วิธีใช้โดรนพ่นสารชีวภัณฑ์บีทีสำหรับป้องกันกำจัด หนอนโดยพ่นเปรียบเทียบกับแรงงานคน ซึ่งมีการตกค้างและระดับการฟุ้งกระจายน้อยกว่าวิธีการของ เกษตรกร และ อากาศยานไร้คนขับ มีส่วนช่วยให้เกษตรกรสามารถลดการใช้สารเคมีน้อยลง และทำ ให้การทำเกษตรกรรมมีความปลอดภัย และ ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงทำให้การทำ เกษตรกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น ควรมีการกำหนดมาตรการควบคุมการใช้ สารเคมีสังเคราะห์ในทางการเกษตรชนิดปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มเติมมาตรการ ควบคุมประเภทชนิดหัวฉีดพ่นสารเคมีทางการเกษตร พร้อมทั้งเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การใช้งานโดรน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3