2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

108 ก่อนทำการบิน และระหว่างทำการบินที่ทางการเกษตร นำมาใช้กับการควบคุมใช้โดรนเพื่อความ ปลอดภัยของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม กำหนดในข้อ 4 ของประกาศกระทรวงคมนาคม พ.ศ.2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาต และเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภท อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก ผลการสัมภาษณ์จากกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานการบินพลเรือน เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ซึ่งเป็นคำถามที่สอดคล้องกับ ประเด็นปัญหาใช้อากาศยานไร้คนขับอย่างไรให้ปลอดภัยต่อ สิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่มีทิศทางของคำตอบ ว่า ควรมีมาตรการการควบคุบความปลอดภัยทางด้าน สิ่งแวดล้อม สืบเนื่องจาก เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และป้องกันการนำไปใช้ในกิจการผิดกฎหมาย ต้องมีการอบรมผู้ใช้ให้มีความรู้ตามกฎหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และ ควบคุม พร้อมทั้งลดภาวการณ์การใช้ของสารเคมี ประกอบกับเพื่อป้องกันการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์ และใน บางกรณีอาจจะส่งผมต่อการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น รวมทั้งป้องกันอุปกรณ์เสริมที่ติดตั้งที่จะส่งผล ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ แม่น้ำ และสัตว์ป่า เป็นต้น ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่า ควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้ามาร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการ นักวิชาการ ในการเข้ามา ควบคุมดูแล และ จัดให้มีการอบรมกับเกษตรกร ที่นำอากาศยานไร้คนขับมาใช้ทางการเกษตรเพื่อ สร้างความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันนี้การใช้งานโดรนทางการเกษตรในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย หรือมาตรการทางกฎหมายที่เข้ามาจัดระเบียบ หรือควบคุมความปลอดภัยในการใช้งานโดรนทาง การเกษตร ซึ่งประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องหลักเกณฑ์การขออนุญาต และเงื่อนไขในการบังคับ หรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ.2558 “19 การควบคุมอากาศยานไร้คนขับ ประเภทชนิดหัวฉีดพ่นสารเคมีทางการเกษตร เกี่ยวกับการใช้สารเคมี สังเคราะห์ในทางการเกษตรชนิดปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยผู้ใช้งานจะต้องได้ผ่านการ อบรมวิธีการนำอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน ทางด้านการใช้งานเกี่ยวกับภาวการณ์การใช้ของ สารเคมี“เพื่อสร้างความปลอดภัยต่อคนและลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในอนาคต

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3