2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

110 5.2 อภิปรายผล จากการศึกษาและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับเพื่อ ประโยชน์กับเกษตรกร ตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องหลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงือนไขใน การบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 ยังไม่ครอบคลุม ชัดเจน และยากที่จะใช้บังคับได้อย่างแท้จริงแล้วตามกลุ่มเกษตรกรยังคงมี ความต้องการที่จะให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา และจัดให้มีนโยบาย หรือระเบียบ มาตรการต่าง ๆ ในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับเพื่อประโยชน์กับเกษตรกรอย่าง ชัดเจนและเหมาะสม ประกอบด้วย 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1.วิเคราะห์ประเภทและวัตถุประสงค์การใช้งานอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร 1.1 จากการศึกษาวิเคราะห์ประเภทการใช้งานอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร พบว่า การที่นำอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนมาใช้ทางการเกษตร ยังถูกจำกัดเรื่องของประเภทน้ำหนักและ วัตถุประสงค์ ที่ยังไม่เอื้อประโยชน์ทางด้านเกษตร ซึ่งปรากฎในประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงือนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศ ยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 ไม่ได้มีการกำหนดประเภทและวัตถุประสงค์การใช้งาน ทางด้านการเกษตรไว้อย่างชัดเจน จึงเป็นปัญหาและอุปสรรค เพราะไม่ได้มีการแบ่งประเภทและ วัตถุประสงค์ ในการนำไปใช้ในการเกษตร เมือศึกษากฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการกำหนดประเภทน้ำหนัก การใช้งานโดรนทางการเกษตรแยกเป็น 2 ประเภท โดรนทางเกษตรขนาดเล็กที่มีน้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัม ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตหรือมีการลงทะเบียน และ โดรนทางเกษตรขนาดใหญ่ที่มีขนาด เกิน 25 กิโลกรัม ซึ่งจะต้องได้รับใบอนุญาตจาก FAA และปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับของ FAA ที่กำหนดไว้สำหรับโดรน ขนาดใหญ่ ประเทศแคนาดา มีการกำหนดประเภทน้ำหนักการใช้ งานโดรนทางการเกษตร 3 ประเภท ได้แก่ โดรนขนาดเล็ก (Small Unmanned Aircraft: SUA) โด รนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 25 กิโลกรัม โดรนขนาดกลาง (Medium Unmanned Aircraft: MUA) โด รนที่มีน้ำหนักระหว่าง 25 ถึง 250 กิโลกรัม และ โดรน ขนาดใหญ่ (Large Unmanned Aircraft: LUA) โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 250 กิโลกรัม และประเทศสิงคโปร์ มีการกำหนดประเภทน้ำหนักการ ใช้งานโดรนทางการเกษตรแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทแรก โดรนสำหรับงานอดิเรก (Recreational drones) โดรนที่ใช้ในการสันทนาการหรือเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว โดรนประเภทนี้ ต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 250 กรัม และประเภทที่สอง โดรนเชิงพาณิชย์ (Commercial drones) โดรนที่ ใช้ในการประกอบอาชีพหรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดรนประเภทนี้ต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 5 กิโลกรัม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3