2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

111 หากเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศไทย ไม่ได้มีการกำหนดประเภทและวัตถุประสงค์การ ใช้งานทางด้านการเกษตรไว้อย่างชัดเจน ประกอบกับผลสัมภาษณ์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนั้น ต่าง เห็นด้วยในการเพิ่มอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนให้มากกว่า 25 กิโลกรัมในการนำไปใช้เพื่อ การเกษตร ย่อมจะส่งผลดีต่อเกษตรกร ที่นำอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนไปใช้ในทางเกษตรกรรม และถือเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้เทคโนโลยีโดรนที่ทันสมัยใหม่มากขึ้น 1.2 จากการศึกษาวิเคราะห์วัตถุประสงค์การใช้งานอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร พบว่า การที่นำอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนมาใช้ทางการเกษตร ยังถูกจำกัดเรื่องของประเภท น้ำหนักและวัตถุประสงค์ ที่ยังไม่เอื้อประโยชน์ทางด้านเกษตร ซึ่งปรากฎ ในประกาศกระทรวง คมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงือนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 ไม่ได้มีการกำหนดประเภทและ วัตถุประสงค์การใช้งานทางด้านการเกษตรไว้อย่างชัดเจน จึงเป็นปัญหาและอุปสรรค เพราะไม่ได้มี การแบ่งประเภทและวัตถุประสงค์ ในการนำไปใช้ในการเกษตร หากศึกษาจากบทความประกอบกับแนวความคิดข้างต้น สามารถนำมาปรับใช้และสนับสนุน ทิศทางที่ดี เพราะสามารถที่จะกำหนดความน่าจะเป็นของการใช้งานโดรน พร้อมทั้งเป็นตัวกำหนดใน การจัดทําแนวทางการสร้างหลักเกณฑ์การใช้งานอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินเพื่อการเกษตรในประเทศ ไทย ให้เหมาะสม และสามารถช่วยพัฒนาชุมชน สร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้แก่อุตสาหกรรมเกษตร ได้ เมือศึกษากฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกามีการนำโดรนมาใช้เพื่อ การเกษตรอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในการฉีดพ่นสารเคมี เก็บเกี่ยวพืชผล และใช้ในการ สำรวจพื้นที่การเกษตร ทำให้ได้มีการออกกฎระเบียบเกี่ยวกับประเภทและวัตถุประสงค์การใช้งาน ทางด้านการเกษตรอย่างชัดเจนพร้อมทั้งกำหนดกระบวนการขั้นตอนพร้อมการรับรอง สำหรับอากาศ ยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร สาธารณรัฐสิงคโปร์ ไม่ได้กำหนดประเภทและวัตถุประสงค์การใช้งาน อากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตรแต่อย่างใดเพียงแต่กำหนดวัตถุประสงค์การใช้งาน 3 ประเภท ได้แก่ วัตถุประสงค์ด้านกิจกรรมและสันทนาการ วัตถุประสงค์ด้านการศึกษา และวัตถุประสงค์ด้าน การธุรกิจและเชิงพาณิชย์ ประเทศแคนาดา ไม่ได้มีการกำหนดประเภทและวัตถุประสงค์การใช้งาน ทางด้านการเกษตรโดยเฉพาะอย่างใด แต่มีการกำหนดประเภทและวัตถุประสงค์การใช้งานระบบ เครื่องบินควบคุมระยะไกล (RPAS) เป็น 2 ประเภท หากเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศไทย ไม่ได้มีการกำหนดประเภทและวัตถุประสงค์การ ใช้งานทางด้านการเกษตร ไว้อย่างชัดเจน และประกอบกับผลสัมภาษณ์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนั้น ต่างเห็นด้วยในการเพิ่มวัตถุประสงค์การใช้งานเพื่อการเข้าไปเกษตร ซึ่งสามารถนำโดรนมาใช้ ประโยชน์ในภาคเกษตรกรรมได้อย่างหลากหลาย ซึ่งส่งผลดีทุกๆกลุ่มที่เกี่ยวข้องการใช้งานโดรนทาง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3