2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

113 ยานไร้คนขับมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขระยะเวลาหนังสือการขึ้น ทะเบียนอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ในทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสม 3.วิเคราะห์กฎหมายการนำอากาศยานไร้คนขับเพื่อความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาวิเคราะห์ปัญหา การ ใช้อากาศยานไร้คนขับอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า การนำโดรนมาใช้งานทางการเกษตรจำเป็นต้องมีการผสมสารเคมีชนิดต่าง ๆ ควบคู่กับการ ผสมน้ำที่มีสัดส่วนที่ต่างกันออกไปตามชนิดของพืชพันธุ์ ซึ่งตัวสารเคมีที่ถูกนำมาใช้ส่วนใหญ่มักมีการ ตกค้าง ซึ่งถ้าหากมีการใช้สารเคมีที่เพิ่มมากขึ้น หรือ ชนิดที่มีคุณสมบัติของสารเคมีที่ต่อต้านแมลง และวัชพืช อาจจะก่อให้เกิดปัญหา สารเคมีตกค้างบนหน้าดิน หากมีการปรับลดอัตราสารเคมี อาจทำ ให้เกิดการดื้อยาและแมลงศัตรูพืชมีการต่อต้าน ซึ่งถ้าหากมีการปรับเปลี่ยนสารเคมีที่มีคุณภาพและ สัดส่วนพอเหมาะ ทำให้เป็นผลดีที่สามารถช่วยลดปัญหาหน้าดิน กำจัดแมลงและศัตรูพืช แต่ ขณะเดียวกันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาการฟุ้งกระจายที่เป็นวงกว้าง เพราะการใช้โดรนพ่นสารเคมี หว่านฮอร์โมน หรืออื่น ๆ ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น อาจจะส่งผลให้เกิดการฟุ้งกระจายของ สารเคมี ส่งผลให้ผู้คนที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงสูดดมสะสม และก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพในระยะ ยาว ซึ่งในประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องหลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงือนไขในการบังคับหรือ ปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ.2558 แต่ไม่มี การกำหนดความปลอดภัยในการนำโดรนไปใช้ในทางการเกษตร รวมถึงกำหนดการใช้หัวฉีดพ่นและ สารเคมีทางเกษตร ซึ่งยังไม่มีกฎหมายมาควบคุมแต่อย่างใด 5.3 ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาเรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับประโยชน์กับ เกษตรกร ประเด็นประเภทและวัตถุประสงค์การใช้งานอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร ประเด็น ระยะเวลาของหนังสือการขึ้นทะเบียนอากาศยานไร้คนขับ ประเด็นการใช้อากาศยานไร้คนขับอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้เทคโนโลยีโดรนที่ทันสมัยใหม่มากขึ้น ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ แก้ไขและเพิ่มเติมประกาศกระทรวงคมนาคม ดังนี้ 1) ให้แก้ไขและเพิ่มเติม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงือนไข ในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 ข้อ 4 (3) ดังนี้ ข้อ 4 อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกตามประกาศนี้แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ (1) ประเภทที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเล่นเป็นงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา แบ่งออกเป็น 2 ขนาด คือ (ก) ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3