2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์
14 อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) จากข้อมูลของ PwC Global พบว่า เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (โดรน) จะ เข้ามาผนวกในรูปแบบการทำธุรกิจและประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย 64 % (กุลธิดา เด่นวิทยานันท์, 2559) และ ปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่าประเทศต่าง ๆ มีมาตรการการใช้งานโดรนซึ่งเห็นได้ จาก ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการออกมาตรการควบคุมการจราจรทางอากาศโดยให้สิทธิแก่ทาง หน่วยงานทหาร หรือ ประเทศกัมพูชา มีมาตรการการบิน คือ ผู้ควบคุมโดรนจะต้องได้รับใบอนุญาต จาก State Secretariat of Civil Aviation ทุกครั้งก่อนขึ้นบิน หรือ ประเทศเมียนมาร์ ห้ามบินใกล้ ท่าอากาศยาน โดยเด็ดขาด (Law for ASEAN, 2017) การขอขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน ตามหลักการแล้วจะต้องมีการขอขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศ ไทย หรือ กพท. และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) โดยการขึ้นทะเบียนกับ กพท. เป็นการขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยาน ไร้คนขับ ส่วนกรณีขึ้นทะเบียนกับ กสทช. จะเป็นการขึ้นทะเบียนขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ ดังนั้นจะ ลงทะเบียนขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ต่อหน่วยงาน กสทช การใช้งานอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) จะ ยังไม่สามารถใช้งานได้ทันที ผู้ใช้งานจะต้องมีการขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ กับ CAAT จึงจะได้หนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ เปรียบเสมือน การทำใบขับขี่โดรน เมื่อ ปฏิบัติการครบขั้นตอน จึงสามารถทำการใช้งานบินอากาศยานไร้คนขับได้ถูกตามกฎหมาย (สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย, 2567) ปัจจุบันนี้มีกลุ่มเกษตรกรที่ลงทุนซื้อโดรนเป็นของตนเอง ข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ ดิจิทัล (depa) เผยว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.45 เปอร์เซ็น เพื่อนำมาใช้ทดแทนแรงงานในการฉีดพ่น สารเคมีทางการเกษตร ฮอร์โมนพืชหรือสารชีวภัณฑ์ (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2566) ขณะที่เกษตรกรบางรายที่ยังมีเงินทุนไม่เพียงพอหรือมีพื้นที่ทำการเกษตรไม่มากได้มีการว่าจ้างผู้ให้ บริการโดรน ซึ่งการใช้โดรนในด้านการเกษตรจะส่งผลให้เกษตรกรประหยัดแรงงาน เวลา รวมทั้งช่วย ให้เกษตรกรสามารถทำงานได้อย่างสะดวกและปลอดภัยทางด้านสุขภาพมากขึ้นแต่อย่างไรก็ตามการ นำโดรนมาใช้กับทางเกษตรยังมีประเด็นปัญหาดังนี้ 1.ปัญหาของประเภทและวัตถุประสงค์การใช้งานอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร สำหรับประเด็นปัญหาประเภทการใช้งานอากาศยานไร้คนเพื่อการเกษตร เมื่อพิจารณาประกาศ กระทรวงคมนาคม เรื่องหลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่ง ไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ.2558 ข้อ 4 อากาศยานที่ควบคุม การบินจากภายนอกตามประกาศนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่งใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเล่น เป็นงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา แบ่งออกเป็น 2 ขนาด คือ ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3