2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

15 กิโลกรัม และ ที่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม ประเภทที่สองใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น นอกจากประเภทที่หนึ่ง ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัม เพื่อการรายงานเหตุการณ์หรือรายงาน การจราจร (สื่อมวลชน) เพื่อการถ่ายภาพ การถ่ายทำหรือการแสดงในภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ เพื่อการวิจัยและพัฒนาอากาศยาน และ เพื่อการอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามไม่มีการกำหนดประเภทและ วัตถุประสงค์การนำโดรนไปใช้ในทางการเกษตร ถ้าหากมีการใช้งาน โดรนประเภทและวัตถุประสงค์ ทางการเกษตร ที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัมขึ้นไป จำเป็นต้องใช้ ข้อ 4 (2) เพื่อวัตถุประสงค์อื่น นอกจากประเภทที่หนึ่ง ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัม เพื่อการอื่น ๆ ประกอบกับ ข้อ 18 ผู้ใด ประสงค์จะบังคับหรือปล่อยอากาศยานที่ควบคุมการบินจาก ภายนอกที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม ให้ ยื่นขออนุญาตต่ออธิบดีเป็นกรณีไป และจะบังคับหรือปล่อยอากาศยานได้ต่อเมื่อได้รับ อนุญาตเป็น หนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด วิธีการดังกล่าวนี้ อาจสร้างความยุ่งยากและใช้เวลานานในกระบวนการขออนุญาตใช้งานโดรน 25 กิโลกรัมขึ้นไป เพราะสืบเนืองจากผู้ขออนุญาตต้องเตรียมเอกสารและหลักฐานจำนวนมาก รวมทั้งต้องผ่านการ ตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะได้รับการอนุมัติ สำหรับประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์การใช้งานอากาศยานไร้คนขับ คือ ผู้ประกอบการ ประชาชน และกลุ่มคนอื่น ๆ มีการยื่นขออนุญาตการใช้งานอากาศยานไร้คนขับ จำนวนเพิ่มมากขึ้น มีความหลากหลายในประเภทและวัตถุประสงค์ของการใช้งาน กรณีของการขึ้น ทะเบียนอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร ซึ่งในปัจจุบันเห็นว่าการขอขึ้นทะเบียนการใช้งานอากาศ ยานไร้คนขับประกอบกับวัตถุประสงค์การใช้งานเพื่อการเกษตร ซึ่งถ้าหากรวมน้ำหนักของสารเคมี ส่วนใหญ่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม เมื่อย้อนไปดูการขอขึ้นทะเบียนผู้บังคับใช้งานอากาศยานไร้คนขับ ตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อย อากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน กรณีลงทะเบียนการใช้งานอากาศยานไร้คนขับมีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม จะต้องได้รับอนุญาตเป็นรายกรณีจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งขั้นตอนและระยะเวลาใน การขออนุญาตค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลานาน ส่งผลให้เกษตรกรที่สนใจนำโดรนมาใช้ในการทำ เกษตรมีความกังวลและลังเลที่จะลงทุน และ ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่หันมาใช้โดรนที่มีน้ำหนักน้อย กว่า 25 กิโลกรัมแทน ซึ่งโดรนกลุ่มนี้มักมีข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพและความสามารถในการบรรทุก น้ำหนัก ทำให้ไม่สามารถทำงานเกษตรบางประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การพ่นสารเคมีใน พื้นที่ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามทำให้เห็นถึงปัญหาทางกฎหมายว่าควรปรับปรุงกฎระเบียบประเด็นการ ใช้งาน เรื่องของการขึ้นทะเบียนการใช้งานอากาศยานไร้คนขับกรณีประเภทและวัตถุประสงค์การใช้ งานโดรนเพื่อการเกษตร ให้เอื้อต่อเกษตรกรมากขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3