2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์
16 ดังนั้น ผู้วิจัยเล็งเห็นว่า ถ้าหากมีการแก้ไขเพิ่มเติมประเภทและวัตถุประสงค์การนำโดรนไปใช้ ในทางการเกษตร ลงในประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขใน การบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้งานโดรนในทาง การเกษตรได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับ กลุ่มเกษตรกรสามารถเข้าถึงการใช้โดรนในทงการเกษตรได้ ง่ายขึ้น เนื่องจากขั้นตอนในการขออนุญาตจะง่ายและใช้เวลาน้อยลง 1.2 ปัญหาระยะเวลาของหนังสือการขึ้นทะเบียนอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) สำหรับประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับระยะเวลาหนังสือการขึ้นทะเบียนโดรน มีอายุ 2 ปี นับ จากวันที่ออกหนังสือ ดังนั้นหากหนังสือการขึ้นทะเบียนสิ้นอายุ ผู้บังคับโดรนจะต้องดำเนินการต่ออายุ หนังสือการขึ้นทะเบียนก่อนวันที่ หนังสือการขึ้นทะเบียนสิ้นอายุไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งระยะเวลาของ หนังสือการขึ้นทะเบียนโดรน สร้างความยุ่งยากให้กับผู้ใช้งานโดรนที่จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายใน การต่ออายุหนังสือการขึ้นทะเบียน ประกอบกับความทันสมัย ของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ที่มีการปรับโฉมและคุณสมบัติใหม่ ๆ เข้ามามักมีสมรรถนะและคุณสมบัติที่ดีกว่าโดรน รุ่นเก่า ซึ่งทำให้ปัญหาการต่ออายุหนังสือขึ้นทะเบียนโดรน ในระยะเวลาที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ สอดคล้องกับเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ดังนั้น การบังคับใช้ระยะเวลาหนังสือการขึ้น ทะเบียนเพียง 2 ปี อาจไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานโดรนรุ่นใหม่ รวมถึงไม่สอดคล้องกับ มาตรฐานสากล ของระยะเวลาหนังสือการขึ้นทะเบียนอากาศยานไร้คนขับในอีกหลายประเทศดังนั้น ผู้ทำวิจัยเล็งเห็นถึงปัญหาทางกฎหมาย ในการปรับปรุงกฎระเบียบประเด็นการใช้งาน เรื่องของการ ขึ้นทะเบียนการใช้งานอากาศยานไร้คนขับ กรณีระยะเวลาหนังสือการขึ้นทะเบียนอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ให้เอื้อต่อเกษตรกร และ กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปมากขึ้น 1.3 ปัญหาการใช้อากาศยานไร้คนขับอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ประเด็นปัญหาการใช้งานโดรนทางการเกษตรอย่างไรให้ปลอดภัยต่อคนและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันนี้มีการนำโดรนมาใช้งานทางการเกษตร จำเป็นต้องมีการผสมสารเคมีชนิดต่าง ๆ ควบคู่กับ การผสมน้ำที่มีสัดส่วนที่ต่างกันออกไปตามชนิดของพืชพันธุ์ ซึ่งตัวสารเคมีที่ถูกนำมาใช้ส่วนใหญ่มักมี การตกค้าง ซึ่งถ้าหากมีการใช้สารเคมีที่เพิ่มมากขึ้น หรือ ชนิดที่มีคุณสมบัติของสารเคมีที่ต่อต้านแมลง และวัชพืช อาจจะก่อให้เกิดปัญหา สารเคมีตกค้างบนหน้าดิน หากมีการปรับลดอัตราสารเคมี อาจทำ ให้เกิดการดื้อยาและแมลงศัตรูพืชมีการต่อต้าน ซึ่งถ้าหากมีการปรับเปลี่ยนสารเคมีที่มีคุณภาพและ สัดส่วนพอเหมาะ ทำให้เป็นผลดีที่สามารถช่วยลดปัญหาหน้าดิน กำจัดแมลงและศัตรูพืช แต่ ขณะเดียวกันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาการฟุ้งกระจายที่เป็นวงกว้าง เพราะการใช้โดรนพ่นสารเคมี หว่านฮอร์โมน หรืออื่น ๆประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น ทั้งนี้การเลือกตัวหัวฉีดถือว่ามี ความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะตัวหัวฉีดมีการกำหนดระดับความฟุ้งกระจาย ถ้าหากไม่ได้มีการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3