2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

18 ยานไร้คนขับ ขึ้นอยู่กับสองหน่วยงานของรัฐบาลกลาง คือ การขนส่งแคนาดามีการกำหนด กฎระเบียบสำหรับการดำเนินงานที่ปลอดภัย และ Health Canada สำหรับ การลงทะเบียนและ เงื่อนไขการใช้ผลิตภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช ได้แก่ The FAA Part 107 – Small Unmanned Aircraft Systems (Simplified) และ พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช (the Pest Control Products Act) ซึ่งมีการกำหนดสารผลิตภัณฑ์ควบคุมสัตว์รบกวนเพื่อให้สามารถใช้ควบคู่กัน นอกจากประเทศที่กล่าวมาในข้างต้น มีอีกหนึ่งประเทศที่มีความน่าสนใจ ในเรื่องของมาตรการ ทางกฎหมาย ข้อบังคับเกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับทางด้านการเกษตร คือ ประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของสิงคโปร์ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และการใช้พื้นที่แนวดิ่งอย่างคุ้มค่า จึงทำ ให้ท้องฟ้าของสิงคโปร์นั้นค่อนข้างมีการจราจรหนาแน่น การใช้โดรนในสิงคโปร์นั้นโดยหลักจึงสามารถ กระทำได้ ภายใต้ข้อกำหนดบางประการ ผู้วิจัยสนใจศึกษาและพร้อมจัดทำข้อเสนอแนะอันนําไปสู่แนวทางการพัฒนา มาตรการทาง กฎหมายการควบคุมการใช้งานอากาศยานไร้คนขับ ให้มีประสิทธิภาพ โดยศึกษามาตรการกฎหมาย การบริหารจัดการการใช้งานอากาศยานไร้คนขับของต่างประเทศมาเป็นแนวทางเปรียบเทียบ พัฒนา กฎหมายในการบริหารจัดการการใช้งานอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน รวมถึงวิเคราะห์สภาพปัญหา ควบคุมการขึ้นทะเบียนอากาศยานไร้คนขับเพื่อใช้ประโยชน์กับเกษตรกร กฎหมายในการควบคุม อากาศยานไร้คนขับมาใช้กับการประกอบอาชีพเกษตรกร ของประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพใน อนาคต 1.2 วัตถุประสงค์ในการศึกษา 1.2.1 เพื่อศึกษาปัญหาการควบคุมการขึ้นทะเบียนอากาศยานไร้คนขับเพื่อใช้ประโยชน์ด้าน การเกษตร 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการ ควบคุมอากาศยานไร้คนขับเพื่อประโยชน์ด้านการเกษตร 1.2.3 เพื่อศึกษากฎหมายไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุม อากาศยานไร้คนขับเพื่อประโยชน์ด้านเกษตร 1.2.4 เพื่อพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับเพื่อ ประโยชน์ด้านการเกษตร 1.3 คำถามวิจัย มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการบริหารจัดการเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับของกลุ่ม เกษตรกรควรเป็นอย่างไร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3