2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

19 1.4 สมมติฐาน เนื่องจากปัจจุบันนี้การใช้งานเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับมีการยื่นขออนุญาตการใช้งานจำนวน เพิ่มมากขึ้น และมีความหลากหลายในประเภทและวัตถุประสงค์การใช้งาน เมื่อย้อนกลับมาศึกษา รายละเอียดของมาตรการทางกฎหมายในปัจจุบัน ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องหลักเกณฑ์การขอ อนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับ หรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุม การบินจากภายนอก พ.ศ.2558 พบว่า ยังไม่ครอบคลุมประเภทและวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น การ ขอลงทะเบียนการใช้งานเพิ่มเติมจากเดิม การเกษตร หรือ เงื่อนไขการกำหนดน้ำหนักโครงสร้างของ อากาศยานไร้คนขับในการเพิ่มน้ำหนักก่อนและหลังการขึ้นบิน จึงทำให้ต้องมีการสร้างมาตรการทาง กฎหมายเพื่อนำไปสู่การใช้งานที่ถูกวัตถุประสงค์ในทางการเกษตรตลอดจนถึงสร้างมาตรฐานการใช้ งานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 1.5 ขอบเขตการวิจัย ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษา ได้กาหนดขอบเขตของการศึกษาไว้ 3 ด้าน ดังนี้ 1.5.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจาก ตำรา วารสาร เอกสารวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ ทางกฎหมาย ความเห็นนักนิติศาสตร์ ตลอดจนข้อมูลทางเว็บไซด์ต่าง ๆ (web site) ทางอินเทอร์เน็ต (Internet) ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อทราบถึงปัญหาและ อุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้ได้ซึ่งมาตรการทางกฎหมายในการบริหารจัดการเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเกษตรกร 1.5.2 ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ในการรวมรวบข้อมูลกำหนดไว้ คือ ในเขตพื้นที่โดยเลือก เฉพาะเจาะจงในพื้นที่ตำบลระโนด และตำบลกระแสสินน์ จังหวัดสงขลา 1.5.3 ขอบเขตผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นการเก็บ ข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก 2 กลุ่ม รวมจำนวน 18 คน ได้แก่ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 6 คน กลุ่มเกษตรกร จำนวน 8 คน และ กลุ่มประกอบอาชีพทั่วไป 4 คน 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.6.1 ได้ทราบถึงปัญหาการควบคุมการขึ้นทะเบียนอากาศยานไร้คนขับเพื่อใช้ประโยชน์กับ เกษตรกร 1.6.2 ได้ทราบถึงแนวคิด ทฤษฎี และหลักการทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการ ควบคุมอากาศยานไร้คนขับเพื่อประโยชน์กับเกษตรกร 1.6.3 ได้ทราบถึงกฎหมายไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุม อากาศยานไร้คนขับเพื่อประโยชน์กับเกษตรกร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3