2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

21 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษา ค้นหา ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องมาตรการทาง กฎหมายในการบริหารจัดการเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ โดยศึกษาถึง 2.1 รูปแบบของอากาศยานไร้คนขับ 2.2 แนวคิดและความเป็นมาของอากาศยานไร้คนขับ 2.3 การขอขึ้นทะเบียนและการขออนุญาตการใช้คลื่นความถี่อากาศยานไร้คนขับ 2.4 สมาร์ทฟาร์ม (smart farm) 2.5 แนวความคิดเกษตรกรรมยั่งยืน 2.6 การพัฒนาการยั่งยืน (SDGs) 2.7 กฎหมายประเทศไทยและต่างประเทศ 2.8 บทความและวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 รูปแบบและประโยชน์ของอากาศยานไร้คนขับ ความหมายของอากาศยานไร้คนขับ อากาศยานไร้คนขับ หมายถึง อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินที่เป็นมนุษย์อยู่บนเครื่อง แต่ใช้การบังคับ หรือควบคุมจากระยะไกลแทน เรียกอีกอย่างว่า โดรน อย่างไรก็ตาม คำว่าโดรนอาจรวมไปถึง ยานพาหนะหรือหุ่นยนต์อื่นๆ ที่มีการบังคับจากระยะไกลด้วย (Phapawich Mahamart, 2565) อากาศยานไร้คนขับ เป็นอากาศยานที่ควบคุมจากระยะไกล ใช้การควบคุมอัตโนมัติซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การควบคุมอัตโนมัติจากระยะไกล และการควบคุมแบบอัตโนมัติโดยใช้ระบบการบินด้วย ตนเองซึ่งต้องอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีระบบที่ซับซ้อนแล้วมีการติดตั้งไว้ในอากาศยาน (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด,2566) อากาศยานไร้คนขับ หรือ Unmanned Aerial Vehicle (UAV) เรียกอีกอย่างว่า โดรน เป็น ยานพาหนะทางอากาศขนาดเล็กที่ไม่มีนักบินประจำการอยู่บนเครื่องเพื่อควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ มีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องบินบังคับวิทยุสมัครเล่น มีหลากหลายขนาดและรูปร่าง และไม่จำกัด รูปแบบ (อวิการัตน์ นิยมไทย, ม.ป.ป.) อากาศยานไร้คนขับ หรือ ยูเอวี (Unmanned Aerial Vehicle, UAV) หมายถึง อากาศยานที่ไม่ มีคนขับ ต่างจากขีปนาวุธตรงที่นำมาใช้ใหม่ได้ เป็นพาหนะไร้คนขับที่สามารถควบคุมทิศทางได้บิน ต่างระดับขึ้นลงบังคับได้และใช้เครื่องยนต์ไอพ่นหรือเครื่องยนต์ลูกสูบ ขณะที่ขีปนาวุธก็ไม่ถูกจัดว่า

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3