2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

25 2.2.2 อากาศยานไร้คนขับของประเทศไทย อากาศยานไร้คนขับในประเทศไทย มีการนำมาใช้ตั้งแต่สมัยสงคราม ร่มเกล้า ซึ่งใน ขณะนั้นมีสงครามระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว มีการจัดอากาศ ยานไร้คนขับจากประเทศอังกฤษเข้ามาประจำการใน กองทัพอากาศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 คือ รุ่น R4D Sky Eye จำนวน 7 ลำของบริษัท Bae โดยประจำการอยู่ที่ฝูงบิน 402 กองบิน 4 ตาคลี ซึ่งเป็น อากาศยานไร้คนขับประเภทควบคุมได้ระยะไกล RPV มีภารกิจตรวจการและถ่ายภาพ โดยร่วม ปฏิบัติการอยู่กับ เครื่องบินลาดตระเวน แต่ด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยีในขณะนั้นทำให้ RPV ไม่ สามารถ ตอบสนองความต้องการใช้ของกองทัพได้เท่าที่ควร เนื่องจาก RPV เหมาะสมกับการใช้งาน ในพื้นที่โล่งแจ้ง แต่ไม่เหมาะสมกับการใช้งานในภูมิประเทศที่เป็นป่าเขาในประเทศไทย หลังจากนั้น อากาศยานไร้คนขับก็มิได้เป็นที่สนใจจากกองทัพไทยในการนำมาใช้อีก ต่อมาในปี พ.ศ.2538 สมัย สงครามอ่าวเปอร์เซียมีการนำอากาศยานไร้คนขับมาใช้ ซึ่งทำให้นักวิชาการและกองทัพไทยหัน กลับมาสนใจอากาศยานไร้คนขับอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย และไม่เป็นที่นิยมมาก เท่าที่ควร จนกระทั่งเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 2 อากาศยานไร้คนขับได้มีบทบาทสำคัญใน การปฏิบัติภารกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาในการบุกจับ Saddam Hussein และมีการพัฒนาใช้ สำหรับสังเกตการณ์ จนกลายเป็นอากาศยานใช้สำหรับการรบและการโจมตีที่น่ากลัว และจากการ พัฒนาครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยมีการตื่นตัว สนใจ และให้ความสำคัญกับอากาศยานไร้คนขับอย่าง ชัดเจนมากขึ้น ดังเห็นได้จากการที่กองทัพบกมีการจัดหาอากาศยานไร้คนขับ รุ่น Searcher Mk.1 จากประเทศอิสราเอลเข้ามาประจำการที่กองพลทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ในภารกิจตรวจ การณ์ ชี้เป้าในการยิงปืนใหญ่ จนก่อให้เกิดความสำคัญต่อโครงการวิจัยทางด้านอากาศยานไร้คนขับ อย่างแพร่หลาย สำหรับประเทศไทยไม่มีแนวคิดในการรุกรานประเทศอื่นใด จึงมีการใช้อากาศยานไร้ คนขับในลักษณะเป็นการอำนวยการเฉพาะพื้นที่ หรือใช้ประโยชน์จากอากาศยานไร้คนขับในงาน เฉพาะกิจสำหรับบินตรวจการณ์เฉพาะบริเวณเพื่อรักษาทรัพยากรของประเทศ เช่น ทรัพยากร ป่าไม้ ทรัพยากรทางทะเล การบินตรวจการณ์ในพื้นที่ล่อแหลม เป็นต้น และมีการพัฒนาอย่างแพร่หลายจน นำมาใช้ในกิจการพาณิชย์พลเรือน เป็นต้น (ประกายเพชร ธีระพัฒน์สกุล, 2560) 2.2.3 ทฤษฎี Jewelry of Drone โดรนเพื่อการเกษตรอัจฉริยะ ทฤษฎี Jewelry of Drone เป็น แน วคิดการ เกษต รอัจฉ ริยะที่ เป รียบ เสมือน เครื่องประดับล้ำค่าบนผืนดิน โดยใช้โดรนเทคโนโลยี และระบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาความยั่งยืน และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งเสมือนเป็นการใช้โดรนหลากหลายประเภท ดั่งอัญมณีบนเครื่องประดับ ซึ่งแต่ละประเภทมีบทบาทเฉพาะทาง เปรียบเสมือนอัญมณีที่มีเอกลักษณ์ จึงเป็นการส่งเสริมทางเกษตรแบบอัจฉริยะ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่หนึ่ง โดรนพ่น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3