2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

30 เสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลของภาครัฐ ขอบเขตของเศรษฐกิจดิจิทัลสามารถมองในมุมมองที่ หลากหลายได้ เช่น การดำเนินชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรม การคิดค้นนวัตกรรม และการกำหนด มาตรฐาน (ชญาพัฒน์เลิศอํานาจกิจเสรี, 2565) จากนิยามข้างต้น ผู้วิจัยได้ให้ความหมายของคำว่าเศรษฐกิจดิจิทัล คือ เป็นการ ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การผลิตสินค้าจนถึงการบริการโดยอาศัยเครื่องมือทาง เทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบเชิงพาณิชย์ พร้อมกับการมีส่วนร่วมของภาครัฐเข้ามา ส่งเสริมจนเกิดเป็นโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ การบริหารเศรษฐกิจดิจิทัล แนวคิดการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับยุค Digital Economy แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน 1. Digital Commerce ห รื อ e-Commerce ( Electronic Commerce) คื อ อี คอมเมิร์ซ, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำธุรกรรมซื้อขาย หรือ แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นสื่อในการนำเสนอ สินค้าและบริการต่าง ๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้ผู้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุก ประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง ประเภทของ E-Commerce 1.ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีก หรือ บีทูซี (B-to-C = Business to Consumer) คือ ผู้ซื้อปลีก ซื้อสินค้าจากผู้ขายผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น การขายเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องสำอาง เป็นต้น 2.ธุรกิจกับธุรกิจ หรือ บีทูบี (B-to-B = Business to Business) คือ ผู้ประกอบการ สองฝ่ายทำการติดต่อซื้อขายกัน โดยการขายในที่นี้เป็นการขายส่ง ซึ่งทำการสั่งซื้อผ่านอินเทอร์เน็ต 3.ธุรกิจกับรัฐบาล หรือ บีทูจี (B-to-G = Business to Government) คือ ธุรกิจ ระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ เช่น การจัดจ้างของภาครัฐโดยประกาศผ่านทางเว็บไซต์ของรัฐเพื่อลด ค่าใช้จ่าย 4.รัฐบาลกับรัฐบาล หรือ จีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ การ ติดต่อกันระหว่างหน่วยงานในรัฐบาล เป็นการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกระทรวง 5.ผู้บริโภคกับผู้บริโภค หรือ ซีทูซี (C-to-C = Consumer to Consumer) คือ การ ติดต่อซื้อขายระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง กล่าวคือ ผู้บริโภคที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจประกาศขายสินค้า ของตนเอง และผู้บริโภคอีกคนก็สนใจสั่งซื้อไป การประกาศขายนี้ส่วนใหญ่ทำผ่านอินเทอร์เน็ตเพราะ มีพื้นที่ให้ติดต่อซื้อขายได้สะดวก รวมถึงหาคนที่มีความสนใจเหมือนกันได้ง่ายอีกด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3