2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

32 2.4 สมาร์ทฟาร์ม (Smart farm) ในปัจจุบันการทำฟาร์มโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มทั้งปริมาณ และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ทำเกษตรกรรมมาตั้งแต่อดีต จนกระทั่งถึงปัจจุบัน และมีการส่งออกสินค้าทั้งพืชผักและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์มากมาย ดังนั้นการรู้ ข้อมูลแห่งโลกยุคใหม่เหล่านี้จะทำให้ปรับตัวได้เร็วขึ้น และสามารถเพิ่มผลผลิตให้ทัดเทียมในระดับ นานาชาติ สมาร์ทฟาร์ม (Smart farm) เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย) เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนให้ เกษตรกรและผู้ประกอบการใช้นวัตกรรมด้านการเกษตรมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและ พัฒนาภาคการเกษตรให้ยั่งยืนในอนาคต โดยรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมาร์ทฟาร์ม มีดังนี้ สมาร์ฟาร์ม หรือ เกษตรอัจฉริยะ เป็นรูปแบบการทำเกษตรแบบใหม่ที่จะทำให้การทำไร่ทำ นามี ภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการนำข้อมูลของภูมิอากาศทั้งในระดับพื้นที่ ย่อย (Microclimate) ระดับไร่ (Mesoclimate) และระดับมหาภาค (Macroclimate) มาใช้ในการ บริหารจัดการ ดูแลพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมพร้อม รับมือกับสภาพอากาศที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต โดยได้รับการขนานนามว่า เกษตรกรรมความ แม่นยำสูง หรือ เกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในประเทศ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเริ่มแพรหลายเขาไปในหลายประเทศ ทั้งยุโรป ญี่ปุ่น มาเลเซีย และ อินเดีย (สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดอ่างทอง, 2564) 2.4.1 หลักการของสมาร์ทฟาร์ม แนวคิดหลักของสมาร์ทฟาร์ม คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการพัฒนาทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ของกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรไปจนถึงผู้บริโภค เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิต ลดต้นทุน รวมทั้งพัฒนามาตรฐานสินค้า สมาร์ทฟาร์มเป็นความพยายามยกระดับการพัฒนาเกษตรกรรม 4 ด้าน ที่สำคัญ ได้แก่ 1.การลดต้นทุนในกระบวนการผลิต 2.การเพิ่มคุณภาพมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้า 3.การลดความเสี่ยงในภาคเกษตร ซึ่งเกิดจากการระบาดของศัตรูพืชและจากภัย ธรรมชาติ 4.การจัดการและส่งผ่านความรู้ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศจากการวิจัยไปประยุกต์สู่ การพัฒนาในทางปฏิบัติ และให้ความสำคัญต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของเกษตรกร (สำนักงาน เกษตรและสหกรณ์ จังหวัดอ่างทอง, 2564)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3