2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

34 ชลประทาน การวางผังไร่ การวางระบบท่อน้ำ ฯลฯ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้หลากหลายในการ ออกแบบและสร้างระบบเหล่านี้ 2.UX – UI ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เคยใช้มา ในการปรับระบบฟาร์มมาเป็น Smart Farming นั้น เรามักจินตนาการว่าทุกอย่างจะเป็นระบบที่มีข้อมูลที่ชัดเจน มีเทคโนโลยีชั้นสูง มีการ ให้ข้อมูลกลับมาสู่เกษตรกรแบบละเอียด ครบถ้วน แต่ในหลายๆ ครั้ง ข้อมูลหรือระบบในการใช้งาน เหล่านั้นก็สูงและยากเกินกว่าที่คนทั่วไปจะสามารถใช้งานได้จริง ซึ่งจะทำให้การทำฟาร์มอัจฉริยะไม่ ประสบผลสำเร็จ เพราะถึงแม้ว่าจะมีนวัตกรรมที่ดีพอ แต่ผู้ที่ใช้งานกลับเกิดความยุ่งยากในการเรียนรู้ ที่จะใช้ รวมไปถึงความซับซ้อนของเทคโนโลยีก็มีสูงเกินกว่าผู้ที่ไม่เคยได้ศึกษาจะเข้ามาทำความเข้าใจ ได้ เพราะฉะนั้นการออกแบบระบบ Smart Farming จำเป็นต้องมองลงไปถึงความคุ้นชินเดิมของผู้ที่ ใช้งานจริง เพื่อให้ความยุ่งยากในการเรียนรู้ไม่สูงเกินไป 3.นวัตกรรมถูกสร้างจากหลายคน เนื่องด้วยกระบวนการและขั้นตอนในการทำ การเกษตรนั้นมีความหลากหลาย และผู้ผลิตเทคโนโลยีเองก็อาจไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในทุกจุดของ การทำการเกษตร ทำให้ในแต่ละขั้นตอนของการปลูก จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีของผู้ผลิตหลายๆ เจ้า เข้ามาใช้งานร่วมกัน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือผู้ผลิตแต่ละเจ้าต่างก็มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน ทำให้การ เชื่อมโยงมีความยากลำบาก และอาจทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยก็เป็นได้ 4.ความคุ้มค่าในการลงทุนที่ไม่ชัดเจน: โดยส่วนใหญ่แล้ว เกษตรกรรายย่อยที่ทำอาชีพ เกษตรกรรมเป็นหลัก มักมีภาระในการดำเนินชีวิตอยู่แล้ว หากเขาจำเป็นต้องลงทุนในการทำระบบ Smart Farming ที่มีต้นทุนเริ่มต้นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีต้นทุนแฝงในอนาคตที่ตามมาอีกจำนวนมาก อาจทำให้เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถใช้เทคโนโลยีนี้ได้จริงเนื่องจากไม่สามารถลงทุนกับเทคโนโลยีได้ (สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร, 2567) ในตอนนี้ประเทศไทยเองก็เริ่มมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาทำระบบฟาร์มอัจฉริยะกันมาก ขึ้นแล้ว แต่ก็ยังเป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น และยังคงไม่แพร่หลายมากเนื่องด้วยปัญหาต่าง ๆ ทั้งใน เรื่องต้นทุน การนำเข้าเครื่องมือ อุปกรณ์ และความคุ้มค่าในการผลิตที่อาจยังไม่เห็นชัดมาก แต่หาก ว่าเราสามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้เองเพื่อทำให้ต้นทุนถูกลง Smart Farming ก็อาจเป็นสิ่งที่จะ แพร่หลายในอนาคตได้อย่างไม่ยากเย็นจนเกินไป หากต้นทุนของเทคโนโลยีต่ำมามากพอและ เกษตรกรไทยได้รับการสนับสนุนในการเปลี่ยนผ่านมาใช้ระบบ Smart Farming กันอย่างแพร่หลาย ประเทศไทยสามารถที่จะควบคุมคุณภาพผลผลิตได้ตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะควบคุมความหวาน ขนาด สีสัน และยังสามารถที่จะปลูกอะไรก็ได้บนโลกใบนี้ โดยจะเป็นการเพิ่มมูลค่าอย่างมากให้กับวงการ เกษตรกรไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3