2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์
35 ประโยชน์ของ สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) สามารถบริหารจัดการข้อมูลภายในฟาร์ม ให้เข้ามาอยู่ในรูปแบบระบบประมวลผล กลางผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง และวิเคราะห์วางแผนข้อมูลเชิงสถิติได้ ซึ่งลดความซ้ำซ้อน และการสูญหายของข้อมูลระหว่างส่วนงาน สร้างแผนการทำงานในการดูแลพื้นที่ ในแต่ละช่วงเวลา สามารถทราบกิจกรรมทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรืออดีต และสรุปการเข้าพื้นที่การทำงานในแต่ ละโซน (ดี.ที.ซี. เอ็นเตอร์ไพรส์, 2017) 2.4.3 นโยบายและวิสัยทัศน์ (Thailand 4.0) Thailand 4.0 หรือ ประเทศไทย 4.0 เป็นโยบายที่เกิดจากวิสัยทัศน์ของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อน ด้วยนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ คือมีฐานการคิดที่เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า โภคภัณฑ์ ไปเป็นการผลิตสินค้าที่เกิดจากนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วย ภาคอุตสาหกรรมไปเป็นการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และหากย้อนกลับสมัยก่อน ประเทศไทยเคยมี Thailand 1.0 ซึ่งเป็นยุคเริ่มแรก ที่รัฐเน้นการลงทุนทางด้านเกษตรกรรม ปลูกข้าว ทำนา ทำไร่ ทำ สวน เพื่อส่งไปขาย หากเป็นเรื่องการส่งออกในยุคนั้นจะมีเพียง ไม้สัก หรือดีบุกเท่านั้นเอง Thailand 2.0 เป็นยุคของอุสาหากรรมขนาดเบา โดยใช้แรงงานจำนวนมากแทน แต่เป็น แรงงานที่อัตราถูก มี การใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยในการผลิตต่างๆ เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องประดับ Thailand 3.0 เป็น ยุคของอุสาหกรรมหนักและการส่งออก มีการลงทุนต่างๆ จากต่างประเทศมากขึ้น มีการปรับใช้ เทคโนโลยีกับสายการผลิต รวมทั้งมีการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นในระยะแรก Thailand 3.0 เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ดีมาก ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา ช่วง ปี พ.ศ.2500 -2526 เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตอย่างมากถึงระดับ 7-8% ต่อปี แต่พอมาถึงปัจจุบันอัตราเติบโตหยุดอยู่ที่ 3+4% เท่านั้น ซึ่งทำให้รายได้ของคนไทยอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้นในขณะที่ทั่วโลกมีการแข่งขันที่ สูงขึ้นดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนสู่ยุค Thailand4.0 เพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็น กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง สมดัง คำกล่าวที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” (ดร.นิยม รัฐอมฤต, 2567) การขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิด สร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นการเปลี่ยนทั้งระบบใน 4 องค์ประกอบสำคัญ (Thailandplus, 2019) 1.เปลี่ยนจากเกษตรกรรมดั่งเดิมเป็นเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการ เทคโนโลยี หรือ smart farming เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ 2.เปลี่ยนจากวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมแบบดั้งเดิมที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลือ ตลอดเวลาไปเป็น smart enterprises หรือ startups ที่มีศักยภาพสูง 3.เปลี่ยน traditional services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำไปสู่ high value service
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3