2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์
36 4.เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง 2.4.4 หลักการรับรู้ประโยชน์ Davis, Bagozzi & Warshaw (1989) กล่าวว่า การรับรู้ความมีประโยชน์เป็นความเชื่อ ของ ผู้ใช้ว่าการใช้งานสิ่งใดสิ่งหนึ่งส่งผลให้มีการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานปัจจุบัน ให้ดี ขึ้นจะทำให้เกิดแรงกระตุ้นที่จะใช้งานสิ่งนั้น และหากผู้ใช้เปิดใจยอมรับในสิ่งที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้การรับรู้ความมีประโยชน์ในมุมมองของเทตโนโลยีสามารถอธิบายได้ โดย Davis (1989) กล่าวไว้ว่า การรับรู้ความมีประโยชน์ของผู้ใช้จะอยู่ในระดับมากก็ต่อเมื่อเทคโนโลยีทำให้การทำงานมี ประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ ซึ่งผู้ใช้ที่รับรู้ความมีประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะ นำอินเทอร์เน็ตมาใช้เป็นสื่อกลางในการทำกิจกรรมต่างๆ มากยิ่งขึ้น และในมุมมองของการซื้อ สินค้า ทางอินเทอร์เน็ต คือ การรับรู้ของผู้บริโภคที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการซื้อสินค้าทำให้การซื้อ สินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการรับรู้ประโยชน์จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่มีอิ ทธิพลต่อทัศนคติใน การซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ด หลักการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน Park (2010) กล่าวว่า การรับรู้ความง่ายในการใช้ งาน เป็นความคาดหวังของผู้ใช้ที่จะ สามารถใช้เทคโนโลย์ได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องใช้ความพยายาม และเทคโนโลยีจะต้องมีลักษณะที่ สามารถจดจำได้ง่าย ไม่มีความชับซ้อน Davis (1989) กล่าวว่า การ รับรู้ความง่ายในการใช้งาน วิธีการใช้ไม่ชับซ้อน สามารถเรียนรู้ ขั้นตอนได้โดยง่าย นอกจากนี้ยังเป็น ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อ การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในระยะแรก เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ ทำให้รับรู้ถึงปัญหาและ สามารถนำไปแก้ไขปัญหาได้อย่างดี Neuendorf & Valdiseri (2016) กล่าว ว่า การรับรู้ว่าระบบง่ายต่อการใช้งานนั้น ต้องดูปริมาณหรือ ความสำเร็จที่ได้รับว่าตรงกับความ ต้องการหรือที่คาดหวังไว้หรือไม่ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ ประโยชน์ที่ได้รับจากเทคโนโลยี สารสนเทศด้วยจากแนวคิดข้างต้น สรุปได้ว่า การรับรู้ความง่ายในการ ใช้งาน หมายถึง ความคาดหวัง ของบุคคลที่จะใช้เทคโนโลยีหรือระบบสารสนเทศ ว่าสามารถเรียนรู้ การใช้บริการของระบบได้ โดยง่าย ไม่ต้องใช้ความพยายาม ขั้นตอนการใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก (เสาวลักษณ์ พูลทรัพย์, 2562) 2.5 ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture) หมายถึง การผลิตทางการเกษตรและวิถี เกษตรกรรมที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและดำรงรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบ นิเวศและสภาพแวดล้อม โดยละเลิก สารเคมีอันตรายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เน้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและการผลิตอาหารที่มีคุณภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค รวมทั้งพัฒนา องค์กรเกษตรกรเครือข่ายเกษตรกรในชุมชนท้องถิ่น นำสู่การพึ่งตนเองของเกษตรกร ชุมชน และ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3