2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

38 ผลิตอาหาร พร้อมไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในเวลาเดียวกัน ระบบไร่หมุนเวียนที่ถูก หลักการจึงจัดเป็นวิธีทำการเกษตรที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ และ เคารพธรรมชาติอย่างมากวิธีหนึ่ง และไร่หมุนเวียนที่ทำกันอยู่โดยชุมชนชาวไทยบนภูเขาทาง ภาคเหนือ ก็ได้พิสูจน์ตัวเองได้ระดับหนึ่ง ว่าสามารถเป็นระบบการเกษตรแบบยั่งยืนได้ ถ้าดำเนินไป ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดกันมา 2.ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated farming หมายถึง ระบบการเกษตรที่มีการปลูกพืชและ เลี้ยงสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจการรมการผลิตแต่ละชนิดเอื้อประโยชน์กันและกัน และ เกื้อกูลกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่าง พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การ อยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญ ต่อกิจกรรมแต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพเศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมี ประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือ ใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดภายในไร่นา แบบครบวงจร เน้นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่อย่างเหมาะสมและให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความ สมดุลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ มีการประสานเกื้อกูลกันระหว่างพืช และสัตว์เศษซากและผลพลอยได้จากทั้งพืชและสัตว์สามารถเป็น ประโยชน์ต่อกิจกรรมของอีกฝ่ายหนึ่งได้ การเลี้ยงปลาในนาข้าวที่ได้ผลผลิตทั้งข้าวและปลา โดยไม่ ต้องใช้สารเคมี การเลี้ยงไก่หรือสุกรบนบ่อปลาทำให้ได้อาหารปลาจากเล้าไก่หรือสุกรหรือการเลี้ยงผึ้ง ในสวนผลไม้ที่ได้ทั้งน้ำผึ้งและมีผึ้งช่วยผสมเกสรดอกไม้ เป็นต้น นอกจากมีการผสมผสานการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์อย่างหลากหลายแล้ว 3.ระบบไร่นาสวนผสม (Mixed/Diversefied/Polyculture Farming) ระบบไร่นาสวนผสม เป็นระบบเกษตรกรรมที่มีกิจกรรมการผลิตหลายๆ ชนิดเพื่อตอบสนองการบริโภคหรือลดความเสี่ยง จากราคาตลาดของผลผลิตที่มีความไม่แน่นอน โดยไม่มีการจัดการให้กิจกรรมการผลิตเหล่านั้นมีการ ผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนไม่ได้คำนึงถึงสภาพแวดล้อมเหมือนเกษตร ผสมผสาน การทำไร้นาสวนผสมในระยะแรกๆ อาจมีการเกื้อกูลกันจากกิจกรรมการผลิตบ้างแต่กลไก การเกิดขึ้นเป็นแบบเป็นไปเอง ไม่ได้เกิดจากการตั้งใจจัดการด้วยความรู้ความเข้าใจ แต่ในระยะหลัง เมื่อเกษตรกรเริ่มมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ก็เริ่มมีการวางแผนการใช้พื้นที่และเลือกพืชที่จะปลูก เพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจมากขึ้น รวมทั้งเกิดผลพลอยได้ มีจุดขายให้เป็นเป้าหมายของการ 4.ระบบไร่นาป่าผสมหรือวนเกษตร (Agro Forestry) เป็นระบบเกษตรกรรมที่นำเอาหลักการ ความยั่งยืนถาวรของระบบป่าธรรมชาติมาเป็นแนวทางในการทำการเกษตร และมีการจัด องค์ประกอบการผลิตทางการเกษตรให้รวมหลากหลายชนิดของพืชและสัตว์อย่างเหมาะสม และ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3