2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

75 ผู้นำ เครือข่าย กลุ่มเกษตรกรร้อยละ 62.5 ส่วนมากมี พื้นที่ทำนาน้อยโดยมีพื้นที่ทำนาอยู่ระหว่าง 0- 10 ไร่ร้อยละ 67.5 ส่งผลให้มีรายได้จากการทำนาส่วนใหญ่ไม่เกิน 60,000 บาทร้อยละ 58.75 และ เกษตรกรพบการระบาดศัตรูพืชอย่างน้อย 2 ครั้งต่อรอบการปลูกเพียงร้อยละ 41.25 2.ปัจจัยที่มีผล ต่อการยอมรับเทคโนโลยีการใช้โดรนของเกษตรกรในการพ่นสารเคมีในนาข้าว จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีโดรน ประกอบด้วย สถานภาพทางสังคม การได้รับคำแนะนำ จาก ผู้นำกลุ่มเกษตรกรและเครือข่าย จำนวนพื้นที่เพาะปลูก รายได้จากการทำนา ลักษณะของการใช้ โทรศัพท์มือถือ และจำนวนครั้งของการ เกิดปัญหาศัตรูพืชระบาด มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับใช้ เทคโนโลยีของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเกษตรกร ที่มีสถานภาพทางสังคม หรือเป็นผู้นำมีแนวโน้มที่จะใช้บริการ โดรนในการพ่นสารเคมีในนาข้าวกว่าบุคคลทั่วไป และยังพบว่า เกษตรกร ยอมรับเทคโนโลยีจากคำแนะนำของผู้นำกลุ่มเกษตรกรจากเครือข่ายเกษตรกร ตลอดจน เกษตรกรที่มีจำนวนพื้นที่ในการทำนาจำนวน มากมีแนวโน้มที่จะใช้โดรนในการพ่นสารเคมีโดยเฉพาะ เกษตรกรที่ทำนามากกว่า 20 ไร่ขึ้นไป รวมไปถึงรายได้ของเกษตรกร โดยกลุ่ม เกษตรกรที่ใช้บริการ โดรนกว่าร้อยละ 71.25 มีรายได้จากการทำนามากกว่า 100 ,000 บาทขึ้นไป และเกษตรกรที่ใช้ สมาร์ทโฟนมี แนวโน้มที่จะยอมรับการใช้บริการโดรนสูงกว่าเกษตรกรกลุ่มที่ใช้โทรศัพท์มือถือธรรมดา หรือไม่มีโทรศัพท์ นอกจากนี้ ผู้ที่ใช้เทคโนโลยีโดรนหรือผู้ที่สนใจใช้ มักจะเป็นกลุ่มเกษตรกรที่พบ ปัญหาศัตรูพืชระบาดในแปลงข้าวอย่างน้อย 2 ครั้ง/ฤดูกาล 3.ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อ คุณลักษณะเทคโนโลยีโดรนที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีโดรน ผลการศึกษาค่าเฉลี่ยของทัศนคติของเกษตรกร 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้บริการอากาศยานไร้คนขับ กลุ่มที่มีความสนใจที่จะใช้ บริการ และกลุ่มที่ไม่ใช้บริการ ต่อคุณลักษณะเทคโนโลยีใช้อากาศยานไร้ คนขับที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีโดรน ทั้ง 5 ด้าน พบว่า เกษตรกรทั้ง 3 กลุ่ม มีความเห็นด้วย สูงสุดในด้านการรับรู้ประโยชน์ของเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ รองลงมาคือด้านเทคโนโลยีที่ สามารถทดลองใช้ได้ง่าย โดยลักษณะที่เกษตรกรมีความเห็นด้วยสูงสุด คือ ลักษณะที่โดรนทำงานได้ เร็วกว่าแรงงานคน สำหรับด้านที่ได้ คะแนนความเห็นด้วยน้อยที่สุดคือการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน โดยมีคะแนนเกี่ยวกับลักษณะที่ผู้ให้บริการติดต่อง่ายสะดวกในการ ให้บริการต่ำที่สุด และเมื่อทำการ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว พบว่า เกษตรกรทั้ง 3 กลุ่มมีทัศนคติต่อคุณลักษณะของ เทคโนโลยีของโดรนในด้านที่สอดคล้องกับสิ่งที่ทำอยู่ และในด้านคุณลักษณะเทคโนโลยีที่สามารถ ทดลองใช้ได้ง่าย แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปและวิจารณ์ จากผล การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการใช้อากาศยานไร้คนขับของเกษตรกร พบว่า ปัจจัย ที่มีให้คนยอมรับ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับนำมาใช้ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านการมี สถานภาพทางสังคม มีความรู้และมีแนวคิดที่ทันสมัย เป็น บุคคลกลุ่มริเริ่ม เป็นผู้นำที่นำเทคโนโลยี อากาศยานไร้คนขับเข้ามาใช้ก่อน สอดคล้องกับ Rogers (1968 ) ที่กล่าวว่า แนวคิดผู้นำเป็นสิ่ง ที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3