2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์
76 เอื้ออำนวยให้เกิดการใช้เทคโนโลยี และปัจจัยต่อมาคือ การได้รับคำแนะนำจากผู้นำกลุ่มเกษตรกร และเครือข่าย สอดคล้องกับ Rogers (1968 ) กล่าวว่า การรวมกลุ่มของเกษตรกรเกิดการ ติดต่อสื่อสารข้อมูลสร้างเครือข่ายทำให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีได้ง่าย ปัจจัยต่อมา คือการใช้ โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ท โฟน สอดคล้องกับ ชลิตา (2557 ) ที่กล่าวถึงเกษตรกรที่ใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่มีการยอมรับเทคโนโลยี ง่าย และปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับเช่นเดียวกัน คือ รายได้จากการทำนา และพื้นที่ ทำนามากกว่า 20 ไร่ สอดคล้องกับ ชลิตา (2557) และ มัลลิกา (2557) ที่กล่าวว่าจำนวนพื้นที่ทำการเกษตรมีผลต่อการ ยอมรับ เทคโนโลยี และ ยุทธพิชัย (2563) กล่าวว่า เกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกข้าวมากกว่า 20 ไร่มี แนวโน้มที่จะใช้เทคโนโลยี และปัจจัยด้าน กายภาพก็มีผลต่อการตัดสินใจใช้เทคโนโลยี คือ หากมี ความถี่ของการเกิดปัญหาศัตรูพืชมาก เกษตรกรจะมีความต้องการที่จะใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังที่ จิรวัฒน์ (2555) กล่าวว่า การยอมรับเกิดกับเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับคุณค่า และตรงความต้องการ สำหรับคุณลักษณะเทคโนโลยีใช้อากาศยานไร้คนขับที่มีผลต่อการยอมรับของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรทุกกลุ่มเห็นด้วยในด้าน ประโยชน์ของโดรน โดยเฉพาะในประเด็นที่โดรนทำงาน ได้เร็วกว่าแรงงานคน เนื่องมาจากเป็นประเด็นที่แสดงให้เห็นเด่นชัดมากที่สุด รองลงมาคือประเด็นที่ โดรนสามารถพ่นสารเคมีได้สม่ำเสมอทั่วถึง สอดคล้องกับ Davis (1989) ที่กล่าวว่าการยอมรับ เทคโนโลยีของ บุคคลใด บุคคลนั้นต้องรับรู้ประโยชน์ของเทคโนโลยีนั้นๆ และด้านความสอดคล้อง ของเทคโนโลยีกับการทำนา ทั้งประเด็นที่โดรน สามารถใช้ได้ทุกสภาพพื้นที่นา และการสนับสนุนการ จัดการศัตรูพืชให้ดียิ่งขึ้น ประเด็นนี้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรอยู่ แล้ว ตามที่ Roger (2003) กล่าวว่า ความสอดคล้องของเทคโนโลยีใหม่กับสิ่งที่ทำอยู่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีมาก ขึ้น ดังข้อมูลที่ กลุ่มที่ตัดสินใจไม่ใช้โดรนมีความไม่แน่ใจเกี่ยวกับคุณลักษณะเทคโนโลยีโดรนในด้าน ความสอดคล้องหรือความเข้ากันได้ของนวัตกรรมกับ ประสบการณ์เดิม ต่างจากกลุ่มที่สนใจแต่ไม่เคย ใช้บริการ จะตัดสินใจใช้ทันทีเมื่อมีโอกาส ซึ่งกลุ่มนี้เห็นด้วยกับคุณสมบัติดังกล่าว สำหรับด้านความ ง่ายในการใช้งานลักษณะที่ผู้ให้บริการติดต่อง่ายสะดวกเกษตรกรเห็นด้วยน้อย อาจเนื่องมาจากการที่ ผู้ให้บริการใน พื้นที่มีน้อยราย ไม่มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี ทำให้เกษตรกรติดต่อใช้บริการได้ค่อนข้าง ยาก ดังนั้น การทำให้เกษตรกรรับรู้ถึงประโยชน์ และเห็นด้วยกับความสอดคล้องเหมาะสมที่จะนำโด รนมาช่วยในการจัดการปัญหา ศัตรูพืชในนาข้าว ย่อมจะส่งผลต่อความสนใจยอมรับใช้บริการโดรน จากเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากงานศึกษาของ Maikaensarn and Chantharat (2020) พบว่า การ ใช้โดรนสำหรับการปลูกข้าว สามารถลดการสูญเสียจากการผลิตประมาณร้อยละ 10 -15 ลดการใช้ สารเคมีได้ร้อยละ 40 และป้องกันแมลงได้มากถึงร้อยละ 90 การให้บริการควรมีการทดลองในผู้ที่มี ความสนใจแต่ยังไม่เคยใช้บริการให้ สามารถทดลองใช้งานได้ ดังนั้นผู้ให้บริการโดรนความเน้นเป้าการ ส่งเสริม การประชาสัมพันธ์ไปที่กลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้นำ เกษตรกรที่มี พื้นที่ทำนาจำนวนมาก ผู้ที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3