2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์
77 ประสบปัญหาศัตรูพืชบ่อย และเกษตรกรที่ใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่ได้ ง่าย และหากมีเกษตรกรยอมรับการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ก็จะสามารถทำให้เกษตรกร กลุ่มอื่นยอมรับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อ การเกษตรได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ การใช้โดรนในการพ่นสารเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ทำให้มีสารเคมี บางส่วน ได้ฟุ้งกระจายออกไปสู่แปลงนาข้างเคียงที่มีพื้นที่ติดกัน นำไปสู่ความขัดแย้ง ส่งผลให้เกษตรกรบาง รายเลิกใช้บริการโดรนไป ซึ่งเกษตรกรควรแจ้งเจ้าของนาพื้นที่แปลงข้าวเคียงก่อนใช้บริการโดรนพ่น ยา และหากสามารถชักชวนให้เกษตรกรเจ้าของนาหรือรายอื่นมา ดูการทำงานของโดรน ก็จะสามารถ ลดความขัดแย้ง และอาจเพิ่มโอกาสให้มีการใช้บริการโดรนในโอกาสต่อไป (อธิพันธ์ สร้อยญาณะ, 2022) 5.วรมน ปิยะมาดา (2566) จากบทความวารสาร เรื่องการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนใช้ เทคโนโลยีโดรนเพื่อปลูกข้าวกรณีศึกษา ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ มี วัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์และประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อปลูกข้าว ร่วมกับธุรกิจการให้บริการรับจ้างฉีดพ่นสารเคมีและหว่านปุ๋ยในนาข้าว และ เพื่อเปรียบเทียบความ คุ้มค่าในการลงทุนใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อปลูกข้าวร่วมกับธุรกิจการให้บริการรับจ้างฉีดพ่นสารเคมีใน นาข้าวกับการเพาะปลูกข้าวโดยใช้แรงงานคนโดย มี ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1.เกษตรกรที่มีความ สนใจลงทุนซื้อเทคโนโลยีโดรนเพื่อปลูกข้าวสามารถนำ ผลการศึกษาไปใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูก โดยเกษตรกรควรประกอบธุรกิจบริการรับจ้างฉีดพ่น เพื่อสร้าง ผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุดซึ่งเป็นไปตามผลการศึกษาที่ พบว่าการลงทุนใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อปลูกข้าวร่วมกับธุรกิจการให้บริการรับจ้างฉีดพ่นสารเคมี และหว่านปุ๋ยในนาข้าวมีความคุ้มค่าและมีความสามารถในการรับความเสี่ยงทางด้านต้นทุนและ ผลประโยชน์ได้ 2.ภาครัฐสามารถนำผลการศึกษาไปประกอบการพิจารณาโครงการเพื่อส่งเสริมการใช้ โดรนเพื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกร อาทิ โครงการส่งเสริมให้รู้จักวิธีการใช้งานการดูแลรักษาและ ประโยชน์ของโดรนเพื่อการเกษตรนอกจากนี้ภาครัฐควรมีนโยบายสนับสนุนด้านเงินลงทุนและลด อัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมให้น้อยลงเนื่องจาก การลงทุนใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตรต้องใช้เงิน ลงทุนเริ่มแรกจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการทำการเกษตรและ พัฒนาเกษตรกรให้กลายเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) รวมถึงเพื่อความคุ้มค่าในการลงทุน เทคโนโลยีการเกษตรแก่เกษตรกรและประเทศได้เพิ่มมากขึ้น ข้อเสนอแนะด้านการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาสภาพคล่องทางการเงินของเกษตรกร ผลกระทบด้านสุขภาพของเกษตรกร รวมทั้ง ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ ผลกระทบจากสภาพที่ดิน ผลกระทบจากแหล่งน้ำ เป็นต้น ซึ่ง เกี่ยวข้องกับการทำการเพาะปลูกข้าว เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนที่เกิดขึ้นจากผลกระทบดังกล่าวและเพื่อ วิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และ ควรพิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3