2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

78 เพาะปลูกข้าวฤดูนาปรัง และควรพิจารณาเกี่ยวกับการใช้โดรนเพื่อการเกษตรในพืชชนิดอื่น ๆ รวมทั้ง ขยายพื้นที่ในการศึกษาจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางเพื่อขยาย ผลในการใช้โดรนเพื่อการเกษตรในการเพาะปลูกแทนแรงงานคน เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้เป็น การศึกษาและวิเคราะห์เฉพาะความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคและด้านการเงินในฤดูกาลเพาะปลูกข้าว นาปีของ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ (วรมน ปิยะมาดา, 2566) 6.วิชัย โอภานุกุล (2566) จากรายงานผลวิจัยเรื่อง โครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ (Drone) สำหรับพ่นสารชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช ผลการวิจัยพบว่า วิธีใช้โดรนพ่นสารชีวภัณฑ์บีที สำหรับป้องกันกำจัดหนอนใยผักในคะน้า ซึ่งดำเนินการทดสอบ โดยสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช โดยพ่น เปรียบเทียบกับแรงงานคน ผลการทดสอบพบว่า การพ่นด้วยโดรนมีความหนาแน่นของละออง สารมากกว่า 30 ละออง/ตารางเซนติเมตร ทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ซึ่งเป็นระดับความ หนาแน่นของ ละอองสารที่เพียงพอต่อการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชคือมากกว่า 30 ละออง/ตารางเซนติเมตร นอกจากนี้ไม่พบความแตกต่างของการตกค้างของละอองสารบนต้นคะน้าจากการพ่นทั้ง 3 กรรมวิธี สำหรับการ ปลิวของละอองสารบนพื้นที่นอกเป้าหมายจากโดรนพบปลิวเพียง 4 เมตร ขณะที่วิธีการ ของเกษตรกรพบการปลิว 3 เมตร และไม่พบการตกค้างของละอองสารบนร่างกายผู้พ่นจากการพ่น ด้วยโดรน ในขณะที่การพ่นของเกษตรกร พบการตกค้างของละอองสารบนร่างกายผู้พ่นเฉลี่ยสูงถึง 212.6 ± 54.7 ไมโครกรัม/ตารางเซนติเมตร (วิชัย โอภานุกูล, 2566) 7.วันวิสา แก้วสืบ (2014) จากวิทยานิพนธ์ เรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมเกษตร อินทรีย์เพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมที่ยั่งยืน และความมั่นคงทางอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เพื่อให้เกิดเกษตรกรรมที่ยั่งยืน โดยมุ่งศึกษาในแง่มุมของ กฎหมายถึงความเป็นไปใด้ที่จะหาแนวทางในด้านกฎหมายเพื่อนำมาใช้ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เพื่อให้ เกิดเกษตรกรรมที่ยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งสรุปผลการศึกษา สถานการณ์ภาพรวม การเกษตรของประเทศไทยในขณะนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเกษตรกรรมกระแสหลัก (ใช้สารเคมี) ยังคง เป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุด ด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งทิศทางการพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศใน แบบเดิมที่เน้นการผลิตเพื่อขาย จนถึงผลจากระบบเศรษฐกิจทุนนิยม และผลประโยชน์มหาศาลของ กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ที่เกี่ยวช้องกับธุรกิจการเกษตร เช่น ธุรกิจปุ๋ยและสารเคมี ธุรกิจเมล็ดพันธุ์พืช ธุรกิจ อุตสาหกรรมการเกษตรครบวงจร ธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น ฉะนั้น เราคงไม่สามารถที่จะ ปรับเปลี่ยนภาคเกษตรกรรมให้กลายเป็นเกษตรกรรมที่ยั่งยืนได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ปี แต่จะต้องมี ทิศทางการพัฒนาภาคการเกษตรโดยรวมของประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะนี้จึงสามารถทำได้ เพียงการทำให้ภาคเกษตรกรรมของไทยเดินหน้าไปทั้ง 2 ทางควบคู่กัน กล่าวคือ มีทั้งภาคเกษตร กระแสหลัก (ใช้สารเคมี) และภาคเกษตรกรรมยั่งยืน (ซึ่งรวมเกษตรอินทรีย์ไว้ด้วย โดยที่ทิศทางการ พัฒนาเกษตรกรรมของไทยโดยภาพรวมนั้น ควรเพิ่มดส่วนภาคเกษตรยั่งยืนให้มากขึ้น โดยเฉพาะ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3