2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

79 เกษตรกรรายย่อยหรือเกษตรกรที่มีที่ดินทำกิน เป็นเกษตรกรส่วนใหญ่ภายในประเทศ ควรจะส่งเสริม แนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน ผลิตเพื่อให้อยู่ใด้ด้วยตนเองตามแนงทางเศรษฐกิจพอเพียง แล้วจึงส่งเสริม การสร้างเครือข่ายดำเนินการรวมพลังช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับการผลิตจากองค์ความรู้และวิทยาการสมัยใหม่ที่ผสมผสานกับ เทคโนโลยีพื้นฐานและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดผลดีต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว และเพื่อเป็นการ ปรับเปลี่ยนให้เท่าทันกระแสโลกที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่าง สมดุล และการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาวะ สิ่งแวดล้อมที่จะทำให้เกิดวิฤตการณ์การขาดแคลนอาหารต่อไป ข้อเสนอแนะ 1.ในส่วนของแนวนโยบายภาครัฐ ควรมีการจัดทำแนวนโยบายและแผนปฏิปัติการ ระดับชาติที่ต่อเนื่องจากแผนเดิม คือ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ 2551 -2554 และ แผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ 2551-2554 โดยที่นำปัญหาที่เกิดจากแผนเติมมาปรับปรุงแก้ไข ให้เกิดประสิทธิภาพ และในการจัดทำแผนปฏิบัติกรระดับชาตินี้ต้องเปิดโอกาสให้เกษตรกรและ ภาคเอกชนผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงได้มีส่วนร่วมการจัดทำแผนดังกล่าวด้วย ตามหลักการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาชน จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนในอนาคตอย่างเป็น รูปธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรค เดินหน้าพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย ทำให้เกิดการพัฒนาไปใน ทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของเกษตรกรและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 2.การ ขับเคลื่อนแนวนโยบายต้านเกษตรอินทรีย์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติที่สำคัญที่สุด ประการหนึ่ง คือ การจัดการส่งเสริมค้านองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบและจริงจัง เพื่อให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจและหันมาปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นระบบเกษตรอินทรีย์มากขึ้น อีกทั้ง การเดินหน้าเผยแพร่ความรู้นี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้เข้าใจถึงผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ว่าดีอย่างไร และแตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่นอย่างไร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและแรงจูงใจในการบริโภค สินค้าเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น โดยที่รัฐสามารถเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ทำความเข้าใจกับ ผู้บริโภคในวงกว้างได้ ผ่านช่องทางหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจด้านการเกษตร ซึ่งจะต้องเป็นให้เป็น จุดมุ่งหมายร่วมกันของทุกหน่วยงาน จะได้ดำเนินการส่งเสริมประชาสัมพันธ์เผยแพร่ไปในทิศทาง เดียวกันในแง่ของภาครัฐที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเกษตรอินทรีย์ และการจัดอบรมความรู้ที่ผ่านมาไม่ก่อให้เกิดประสิทธิผลเท่าที่ควร ทั้งที่ใช้งบประมาณด้านนี้ไปมาก จึงควรแก้ไขปัญหาด้วยกำรให้เอกชนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพเข้ามาจัดการ หลักสูตรอบรมให้ความรู้ โดยภาครัฐเป็นผู้ดำเนินโครงการ อางใช้รูปแบบการจัดซื้อจัดง้างภาคเอกชน ให้เข้ามาดำเนินการ และภาควัฐเป็นผู้ติดตามประเมินผลการดำเนินการของภาคเอกชนเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพประสิทธิผลอย่างแท้จริง (วันวิสา แก้วสืบ., 2014)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3