2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

80 8.กิตติคุณ แย้มนิยม (2559) จากวิทยานิพนธ์ เรื่อง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับใช้อากาศยานไร้ นักบิน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักเกณฑ์ กฎหมาย กฎระเบียบของไทยในปัจจุบันที่ เกี่ยวข้องกับอากาศยานไร้นักบิน กลไกการขออนุญาต การควบคุมการใช้อากาศยานไร้นักบินใน ปัจจุบัน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและอาจเกิดขึ้นจากกฎหมายไทยในปัจจุบัน เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการใช้อากาศยานไร้นักบินของสหราชอาณาจักร และ ออสเตรเลีย ว่ามี มีเนื้อหาอย่างไรเพื่อที่จะนำมาเปรียบเทียบกับกฎหมายไทย และเพื่อเสนอแนะแนว ทางแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการนำอากาศยานไร้นักบินมาใช้ในประเทศไทยในเชิงพาณิชย์ จากการศึกษาพบว่าการนำบทบัญญัติของอากาศยานทั่วไปมาใช้บังคับกับอากาศยานไร้นักบินจะ ก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายและความไม่เหมาะสมหลายประการ เช่น การจดทะเบียน และเครื่องหมายอากาศยาน การกาหนดให้ต้องมีใบสาคัญสมควรเดินอากาศ การต้องปฏิบัติตาม บทบัญญัติว่าด้วยมาตรฐานอากาศยาน การรับรองหน่วยซ่อมอากาศยาน หรือในเรื่องสถานที่ขึ้น -ลง ของอากาศยาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อประชาชนทั่วไป รวมถึง ผู้ประกอบการเอกชนที่ประสงค์จะนำอากาศยานไร้นักบินมาใช้เพื่อประโยชน์ในกิจการของตนเองหรือ นำอากาศยานไร้นักบินของตนมาใช้เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อีกด้วย ซึ่ง ในปัจจุบันได้มีการออก ประกาศกระทรวงเพื่อใช้บังคับกับอากาศยานไร้นักบินโดยเฉพาะแต่ก็มิได้มีบทบัญญัติใดกล่าวยกเว้น มิให้นาบทบัญญัติของอากาศยานทั่วไปมาใช้บังคับอากาศยานไร้นักบินอย่างไรก็ตาม สำนักงานการ บินพลเรือนได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการบินพลเรือนฉบับใหม่ซึ่งอยู่ในระหว่าง การศึกษาและพิจารณาเนื้อหา โดยเป็นการร่างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการบินพล เรือนของไทยให้ทันสมัยและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับอากาศยานไร้นักบินนั้น ร่าง กฎหมายดังกล่าวได้กาหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนมีอำนาจในการยกเว้นมิให้นำ บทบัญญัติของอากาศยานทั่วไปมาใช้บังคับกับอากาศยานไร้นักบินได้ แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมาย ดังกล่าวก็มิได้กล่าวถึงเงื่อนไขและรายละเอียดในการยกเว้นแต่อย่างใด ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นควรให้มี การกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจนในรายละเอียด ทั้งนี้เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับอากาศยานไร้ นักบินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน (กิตติคุณ แย้มนิยม, 2559) 9.ศรุต อัศวกุล (2565) จากบทความวารสาร เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนําอากาศยานไร้ คนขับขนาดเล็ก (Drone) มาใช้ในเกษตรแปลงใหญ่ กรณีศึกษา เกษตรแปลงใหญ่ประเภทนาข้าวใน พื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนําอากาศยาน ไร้คนขับขนาดเล็กมาใช้ในเกษตรแปลงใหญ่ประเภทนาข้าว และความเป็นไปได้ของการนําอากาศยาน ไร้คนขับขนาดเล็กมาใช้ในเกษตรแปลงใหญ่ พร้อมทั้งนําเสนอแนวทางเชิงนโยบายในการนําอากาศ ยานไร้คนขับขนาดเล็กมาใช้ในเกษตรแปลงใหญ่ ผลการศึกษาพบว่า 1.ปัจจัยที่มีอิทธิพล ได้แก่ ปัจจัย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3