2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์
82 กระบวนการดังกล่าวซึ่งท้ายที่สุดทุกชุมชนที่ผลิตสินค้าเกษตรย่อมมีฐานะที่ดีขึ้นตามไปด้วยการพัฒนา นวัตกรรมใหม่ ๆ ส่งผลกระทบไปยังเกษตรกรและประชากรทุกคน เพราะการใช้นวัตกรรมเกษตรเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ เป็นปัจจัยในการเพิ่มขีดการแข่งขันและส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเกษตร ดังนั้น นวัตกรรมทางการเกษตรเพื่อประโยชน์สาธารณะไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ สำคัญในการ เติบโตและการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาชุมชนและลดความ เหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และสำคัญคือ สร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้แก่อุตสาหกรรมเกษตรได้ (ชาญ ชัย คำจำปา, 2564) 12.วุฒิพงศ์ คำจูมจัง (2022) จากวิทยานิพนธ์ เรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและ ส่งเสริมการใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินเพื่อการเกษตร จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีกฎหมาย ควบคุมการใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินเพื่อการเกษตร ตามประกาศกระทรวงคมนาคม เพื่อกำหนด รายละเอียดและหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินโดยจะมุ่งเน้นไปที่เงื่อนไขใน การขออนุญาตและการกำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตเป็นสำคัญ แต่ก็ไม่ได้มีการกำหนดประเภท อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษตรไว้โดยเฉพาะ และไม่ได้มีบทบัญญัติใดที่ ยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติของอากาศยานที่มีนักบินมาบังคับใช้กับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินเพื่อ การเกษตรแต่อย่างใด โดยหากพิจารณาขนาด โครงสร้างและลักษณะของอากาศยาน รวมถึง วัตถุประสงค์การใช้งานของอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินเพื่อการเกษตรจะเห็นได้ชัดว่ามีความแตกต่าง จากอากาศยานที่มีนักบินแบบทั่วไป อย่างชัดเจนจึงไม่เหมาะสมที่จะนำกฎเกณฑ์ของอากาศยานแบบ ที่มีนักบินมาใช้กับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินทุกขนาดทุกประเภท และเป็นอุปสรรคในการส่งเสริมการ ใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินเพื่อการเกษตร (วุฒิพงศ์ คำจูมจัง, 2022) จากงานวิจัยและบทความทั้ง 12 เรื่องนี้ได้ศึกษาถีงการนํามาใช้เป็นแนวทางการสร้างหลักเกณฑ์ การใช้งานอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินเพื่อการเกษตรในประเทศไทย ซึ่งจะสามารถพัฒนาศักยภาพ เกษตรกรไทยสู่การเป็นเกษตรกรที่ปราดเปรื่อง และมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใน การยอมรับและนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ทางการเกษตรซึ่งจะเป็นประโยชน์ ในการนํามาทดแทน แรงงานคนในภาคการเกษตรได้อย่างดี ซึ่งมีความแตกต่างกับงานวิทยานิพนธ์ เรื่อง มาตรการทาง กฎหมายในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับเพื่อประโยชน์กับเกษตรกร ซึ่งในการวิจัยทบทวน วรรณกรรมในบทที่ 2 นี้ ผู้วิจัยจะนำไปสู่การวิเคราะห์ในบทที่ 4 ต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3